ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คุณภาพการนอนหลับ, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับ
สุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เกี่ยวกับการนอนหลับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 215 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยมีค่า IOCอยู่ระหว่าง 0.67-1.00
และทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) อยู่ระหว่าง 0.7-0.8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์
โดยใช้สถิติ Chi-Square และ Fisher’s exact test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.84 อายุเฉลี่ย 20.56 ปี (SD=1.52) อยู่ในช่วงอายุ 18-20 ปี ร้อยละ 53.95 เป็นนักศึกษาหลักสูตรทันตสาธารณสุข ร้อยละ 40.93 คุณภาพการนอนหลับไม่ดี ร้อยละ 92.56 (x̄=8.40, SD=2.37) สุขวิทยาเกี่ยวกับการนอนหลับอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 96.27 (x̄ =3.07, SD=0.31) ได้แก่ ด้านการออกกำลังกาย ร้อยละ 82.79 ด้านการนอนหลับ ร้อยละ 79.07 และด้านการรับประทานอาหาร ร้อยละ 77.67 สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เกี่ยวกับการนอนหลับส่วนใหญ่มีปัญหาการรบกวนอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 52.6 (x̄ =2.69, SD=0.96) ได้แก่ อุณหภูมิ ร้อยละ 41.4 รองลงมา ความสว่าง ความมืดภายในห้อง ร้อยละ 36.3 และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.029)
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ นักศึกษาควรตรวจประเมินสุขภาพของตนเองและปรับพฤติกรรมการนอนให้เอื้อต่อการนอนหลับที่ดี เช่น นอนวันละ 6-8 ชั่วโมงและทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนเข้านอน รวมทั้งวิทยาลัยควรมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะต่อการนอนหลับของหอพัก โดยควรจัดให้ห้องนอนไม่มีแสงสว่างมารบกวน มีอุณหภูมิที่เหมาะสม และเงียบสงบไม่มีเสียงรบกวน และประชาสัมพันธ์พิจารณาเกี่ยวกับหอพักที่นักศึกษาต้องการให้ปรับปรุงเพื่อให้เอื้อต่อการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับที่ดี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว