ประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสีย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

-

ผู้แต่ง

  • พลอยไพริน นวนนุกูล คณะสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ขอนแก่น
  • สายัณต์ แก้วบญุเรือง
  • ทวินันท์ หาญประเสริฐ

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, ระบบบำบัดน้ำเสีย, น้ำเสีย

บทคัดย่อ

       การศึกษาเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพระบบบำบัดน้ำเสียของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ น้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียนของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น โดยเก็บตัวอย่างน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสีย 5 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 น้ำในบ่อสูบที่เป็นแหล่งที่รวบรวมน้ำเสีย จุดที่ 2 น้ำในคลองวนเวียน จุดที่ 3 น้ำในถังตกตะกอน จุดที่ 4 น้ำในบ่อเติมอากาศ และจุดที่ 5 น้ำในบ่อ     น้ำทิ้ง เพื่อวัดอุณหภูมิ ค่าพีเอช ค่าตะกอนหนัก และค่าคลอรีน จากนั้นนำตัวอย่างน้ำทั้ง 5 จุดมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อหาค่าดีโอ ค่าบีโอดี ค่าซีโอดี ของแข็งละลายน้ำ ของแข็งทั้งหมด และสารแขวนลอย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า น้ำทิ้งที่ได้รับการบำบัดจากระบบบำบัดน้ำเสียของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น มีคุณภาพที่ได้มาตรฐานบางประการตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งของอาคารประเภท ก. ของประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งลักษณะสมบัติของน้ำที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ ค่าพีเอช จุดที่1-5 ผ่านเกณฑ์ทั้งหมดโดยมีค่าเฉลี่ยคือ 7.5, 7.80, 6.93, 6.63, 6.07 ตามลำดับ ค่าของแข็งทั้งหมด จุดที่ 5 ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 270.60 ค่าของแข็งละลายน้ำ จุดที่ 5 ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 212.60, สารแขวนลอย จุดที่ 5 ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 23.18       ค่าซีโอดี จุดที่ 1 ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 189.60 และค่าบีโอดี จุดที่ 1 ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 32.00 และลักษณะสมบัติของน้ำทิ้งที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ ค่าดีโอก่อนได้รับการบำบัด       จุดที่ 2 ไม่ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 19.20 ค่าดีโอหลังได้รับการบำบัด จุดที่ 2 ไม่ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 19.50 ค่าตะกอนหนัก ไม่ผ่านเกณฑ์โดยมีค่าเฉลี่ย 10.00 และค่าคลอรีน ไม่ผ่านเกณฑ์โดยมีค่า < 0.2

References

1. กรมควบคุมมลพิษ. สำนักจัดการคุณภาพน้ำ
(2549). แผนการจัดการน้ำเสียชุมชน.[ม.ป.พ.]
2. ชไมกาญจน์ แซ่เตีย. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณ สุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.]
3. ดรุณี ศริวิไล. (2555). การจัดการน้ำเสียขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเทศบาลตำบล เมืองแกลง จังหวัดระยอง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม.คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
4. นลินี บุญเจษฎารักษ. (2554). การจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำผึ้ง. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม). คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.สถานบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
5. วศโรจน์ ต่อหยกสกุลชัย. (2553). การจัดการน้ำเสียหอพักและชุมชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ปริญญานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6. อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. (2544). ลักษณสมบัติของน้ำทิ้งก่อนและหลังการได้รับการบำบัดด้วยระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวิจัย มข. 6 (1), หน้า 55-62
7. APHA, AWWA,WEF. 1992. Standard Methods for the Examination of Water and Waste Water. 18^th ed. Washington D.C.: American Public Health Association.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-06-2021