คุณภาพน้ำฝนและพฤติกรรมการใช้น้ำฝนเพื่อการบริโภค ในบ้านหนองงอม หมู่ที่ 2 ตำบลหัวช้าง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
น้ำฝน, คุณภาพน้ำฝน, พฤติกรรมการใช้น้ำฝนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝน ด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้น้ำฝนเพื่อการบริโภคในครัวเรือน ตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝน ทั้งทางกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา คือน้ำฝนในภาชนะรองรับ จำนวน 14 ตัวอย่าง วัดซ้ำ 3 ครั้ง และเลือกกลุ่มตัวอย่างตัวแทนครัวเรือนแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ อุปกรณ์การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนจากภาชนะกักเก็บ และแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ซึ่งผ่านการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.80, 0.75 และ 0.71 ตามลำดับ วิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนโดยวิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการและวิเคราะห์ข้อมูลของแบบสอบถามโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพน้ำฝนในภาชนะรองรับมีค่าพีเอชอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้ของกรมอนามัย พ.ศ 2553 แต่พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มทุกตัวอย่าง อีกทั้งพบ ค่าสีและความขุ่นไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างละ 1 ตัวอย่าง ส่วนพฤติกรรมการใช้น้ำฝนในการบริโภค พบว่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ มีความรู้และทัศนคติร้อยละ 66.7 และ 53.3 ตามลำดับ และยังพบว่า มีพฤติกรรมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 20.0 ซึ่งพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำฝน ได้แก่ ไม่ปล่อยให้ฝนแรกชะล้างฝุ่นละออง มูลสัตว์ ที่อยู่บนหลังคาและรางรับก่อนทำการรองรับน้ำฝนไว้บริโภค ไม่ทำความสะอาดรางน้ำและภาชนะรองรับน้ำฝน ไม่มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำฝนก่อนนำมาบริโภค ไม่ปิดฝาภาชนะรองรับน้ำฝน และไม่ทำความสะอาดมือก่อนนำน้ำฝนมาบรรจุในภาชนะหรือขวดก่อนนำมาบริโภค การศึกษาครั้งนี้ได้ข้อเสนอดังนี้ ควรมีนโยบายและมาตรการที่ช่วยกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการบริโภคน้ำดื่มที่ไม่สะอาด ควรมีการรณรงค์ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าวในชุมชนเกี่ยวกับวิธีการรองรับน้ำฝนไว้สำหรับบริโภค
References
2. สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. รายงานประจำปีสำนักจัดการคุณภาพน้ำ ปี 2547, 2551-2552, 2554-2557. [cited 2019 Oct 8]; Available from: http://slbkb.psu.ac.th/xmlui/handle/2558/1292
3. ปนัดดา พิบูลย์. คุณภาพน้ำจากระบบการเก็บกักน้ำฝนจากหลังคาในตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช WATER QUALITY OF ROOF RAINWATER HARVESTING SYSTEM IN THAMYAI, THUNG SONG DISTRICT, NAKHON SI THAMMARAT. J Srinakharinwirot Univ J Sci Technol. 2018;10(20):34–45.
4. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย [Internet]. [cited 2020 Jun 23]. Available from: http://foodsan.anamai.moph.go.th/main.php?filename=water_index18
5. ข้อมูลสถานการณ์การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภค 2559 [Internet]. [cited 2020 Jun 23]. Available from: http://foodsan.anamai.moph.go.th/more_news.php?cid=297
6. Standard Methods for the Examination of Water & Wastewater - American Public Health Association. [cited 2020 Jun 23]. Available from: https://books.google.co.th/books/about/Standard_Methods_for_the_Examination_of.html?id=buTn1rmfSI4C&redir_esc=y
7. Simawathana, Pimpat. (2007). Study the Properties of Rain Water from the Many Kinds of Roof’s Houses in Amphur Maung Ubon Ratchathani Province. Dissertation, M.Sc. (Chemistry). Ubon Ratchathani Rajabhat University. [Internet]. [cited 2020 Jun 23]. Available from: https://www.google.com/search?rlz=1C1SQJL_enTH775TH775&ei=Vw3yXoyVE9WX4-
8. Despins C, Farahbakhsh K, Leidl C. Assessment of rainwater quality from rainwater harvesting systems in Ontario, Canada. J Water Supply Res Technol-Aqua. 2009 Mar;58(2):117–34.
9. มธุรดา ปองไป. การศึกษาปริมาณโคลิฟอร์มแบคทีเรียในน้ำฝนที่ใช้ดื่มของประชาชน : กรณีศึกษา
อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม [Internet]. [cited 2019 Oct 13]. Available from: http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=33266
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว