ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อัญชลี อรรคเศรษฐัง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัฒน์ จำปาหวาย

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย, ทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย, พฤติกรรมการออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายและศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 215 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเนื้อหา มี IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และนำไปทดลองใช้ ทดสอบความเชื่อมั่น มีค่า 0.71-0.89 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปนำเสนอด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และการวิเคราะห์ใช้สถิติ Chi Square test และสถิติ Fisher’s Exact Test

ผลการศึกษาพบว่า ความรู้โดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 95.35 และมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 4.65 ทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย อยู่ในระพอใช้ ร้อยละ 55.81 และมีทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกายอยู่ในระดับดี ร้อยละ 44.19 พฤติกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระพอใช้ ร้อยละ 66.05 รองลงมามีพฤติกรรมการออกกำลังกาย ระดับปรับปรุง ร้อยละ 30.23  และมีพฤติกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับดี ร้อยละ 3.72  ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย พบว่า อายุ ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ทัศนคติเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ระดับชั้นปี และหลักสูตรที่ศึกษา  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value = 0.013, 0.004, = 0.001, = 0.028  และ p–value=<0.001 ตามลำดับ ) ส่วนปัจจัยเพศ ค่าใช้จ่ายต่อเดือน โรคประจำตัว ระยะเวลาในการออกกำลังกายต่อสัปดาห์ วิธีการออกกำลังกาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.557, 0.751, 0.711, 0.376 และ p= 0.142 )

References

-

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-06-2021