ผลกระทบและปัญหาสุขภาพจิตหลังประสบอุทกภัยของประชาชนบ้านผักกาดหญ้า ตำบลนาเลิง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ดนัยเทพ พันธะมา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัฒน์ จำปาหวาย

คำสำคัญ:

ผลกระทบ, สุขภาพจิต, อุทกภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตและผลกระทบหลังจากประสบอุทกภัยของประชาชน และเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์กับเกิดปัญหาสุขภาพจิตหลังประสบอุกภัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ประสบอุทกภัยบ้านผักกาดหญ้า ตำบลนาเลิง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 323 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินวัดสุขภาพจิตไทยฉบับ 15 ข้อ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติ Chi-square นำเสนอขนาดของความสัมพันธ์โดยใช้ค่า OR, 95% CI of OR, P-value

ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.75  มีงานทำร้อยละ 65.69 เมื่อพิจารณาถึงด้านผลกระทบ พบว่าส่วนใหญ่ มีการสูญเสียทรัพย์สินจากน้ำท่วม ร้อยละ 31.86 รองลงมาคือ ปัญหาการตัดถนนทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ร้อยละ 30.88 และ สูญเสียรายได้หลังน้ำท่วม ร้อยละ 29.90 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ(OR=1.85 ; 95% CI of OR : 1.01 ถึง 3.33 ; p-value=0.044) ความเพียงพอของรายได้( OR=2.94 ; 95% CI of OR : 1.32 ถึง 6.67 ; p-value=0.007)   และโรคประจำตัว ( OR=2.44 ; 95% CI of OR : 1.31 ถึง 4.43 ; p-value=0.004)  ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต หรือเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต ในประชาชนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตและผลกระทบหลังจากประสบอุทกภัยของประชาชน และเพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์กับเกิดปัญหาสุขภาพจิตหลังประสบอุกภัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ประสบอุทกภัยบ้านผักกาดหญ้า ตำบลนาเลิง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 323 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบประเมินวัดสุขภาพจิตไทยฉบับ 15 ข้อ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสถิติ Chi-square นำเสนอขนาดของความสัมพันธ์โดยใช้ค่า OR, 95% CI of OR, P-value

ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.75  มีงานทำร้อยละ 65.69 เมื่อพิจารณาถึงด้านผลกระทบ พบว่าส่วนใหญ่ มีการสูญเสียทรัพย์สินจากน้ำท่วม ร้อยละ 31.86 รองลงมาคือ ปัญหาการตัดถนนทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ร้อยละ 30.88 และ สูญเสียรายได้หลังน้ำท่วม ร้อยละ 29.90 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ(OR=1.85 ; 95% CI of OR : 1.01 ถึง 3.33 ; p-value=0.044) ความเพียงพอของรายได้( OR=2.94 ; 95% CI of OR : 1.32 ถึง 6.67 ; p-value=0.007)   และโรคประจำตัว ( OR=2.44 ; 95% CI of OR : 1.31 ถึง 4.43 ; p-value=0.004)  ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมส่งเสริม ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต หรือเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต ในประชาชนที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต

References

1. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดร้อยเอ็ด. (2562). ร้อยเอ็ดประกาศภัยพิบัติแล้ว7อ.-นาข้าวเสียหายกว่า3แสนไร่. ค้นเมื่อ
4ตุลาคม2562,https://www.innnews.co.th/regional-news/news_479659/
2. ระบบสถิตทะเบียน. (2561). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ.2561 ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2562 , จาก.http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/
3. สมชาย ตันศิริสิทธิกุล. (2563). ผลกระทบของอุทกภัยต่อปัญหาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2562 ,
จากhttps://www.dmh.go.th/abstract/nurse/details.asp?id=3203
4. อรุณ จิรวัฒน์กุล และคณะ. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ:
5. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แบบทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อ ค้นเมื่อ 4 ตุลาคม
2562,จากhttps://www.dmh.go.th/test/thaihapnew/thi15/asheet.asp?qid=1
6. พิทักษ์พล บุณยมาลิก, สุพัฒนา สุขสว่าง, และศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน. (2555). สุขภาพจิตของผู้ประสอุทกภัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2549: การติดตามดูแล ระยะยาว 1 ปี(2549)
7. สมเกียรติ ทองธรรมชาติ และคณะ. (2554). ผลกระทบจากอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ที่มีต่อประชาชน ในตำบลวัดโคก อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
8. สุรพันธ์ วิชิตนาค และคณะ. (2550). ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการคงอยู่ของภาวะเครียดหลังอุทกภัยในจังหวัดอ่างทอง
9. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2554). การช่วยเหลือและฟื้นฟู ทางจิตใจแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ ปีงบประมาณ 2554 แยกตามการตรวจพบปัญหาสุขภาพจิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020