ความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภานุชนาถ อ่อนไกล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, กัญชาในทางการแพทย์, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 33,161 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 337 คน  ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิและเป็นระบบ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.87 มีอายุเฉลี่ย 52.45 ปี(S.D.= 8.23) ส่วนใหญ่มีความรอบรู้ทางสุขภาพด้านความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ในระดับปานกลาง ร้อยละ 41.84  ความรอบรู้ทางสุขภาพในการใช้กัญชาทางการแพทย์ รายรวมพบว่าในระดับปานกลาง ร้อยละ 75.96 ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.92 ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ด้านสุขภาพด้านทักษะการสื่อสาร ในระดับปานกลาง ร้อยละ 71.22 ความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ด้านทักษะการตัดสินใจ ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.11

ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการใช้กัญชาทางการแพทย์ ของอสม. ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงที่ยังมีความรู้ความใจไม่ถูกต้อง เช่น การใช้กัญชาเพื่อบรรรเทาอาการหอบหืด

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. คำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์ 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 7 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.dms.moph.go.th/dms2559/download/Final_Guidance.pdf.
2. ________. คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 19 มิ.ย. 2563], เข้าถึงได้จาก http://phc.moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/OSM_Doctor.pdf
3. ขวัญเมือง แก้วดำเกิงและนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางด้านสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด; 2554.
4. ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. Health Education ความท้าทายในศตวรรษที่ 21 เพื่อยกระดับ Health Literacy 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 18 มิ.ย. 2563], เข้าถึงได้จากhttp://doh.hpc.go.th/data/hl/HLAsPublicHealthGoal.pdf
5. ปฐมาวดี ดวงกันยา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูงในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด[การวิจัยทางด้านสาธารณสุข หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน]. ขอนแก่น: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2563.
6. ประภัสสร งาแสงใส, ปดิรดา ศรสียน และ สุวรรณา ภัทรเบญจพล. กรณีศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 9(ฉบับพิเศษ). 2557; 82-87.
7. สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ไชยเมล์,เรณู สะแหละ และยุวดี กองมี. “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอกงหราจังหวัดพัทลุง,” วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(1), 50-59.
8. สิริญา ไผ่ป้องและ สมเดช พินิจสุนทร. ความรู้ และบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
9. อารีย์ แร่ทอง. ความรอบรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3อ 2ส ของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กรณีศึกษาตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2562.
10. Bloom, B. S. Mastery learning. In J. H. Block (Ed.), Mastery learning: Theory and practice. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.
11. Best J.W. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood cliffs; 1977.
12. Fraenkel, J. R., & Wallen, N. E. How to design and evaluate research in education
(2nd ed.). Boston, MA: McGraw Hill; 1993.
13. Nutbeam, D. The Evolving Concept of Health Literacy. Social Science and Medicine, 67, 2072-2078. http://dx.doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050; 2008.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020