พฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชนบ้านน้อยนาเวิน ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแลตนเอง, กลุ่มเสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในชุมชนน้อยนาเวิน ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 36 คน โดยแบ่งเป็นประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 29 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 17 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการจัดการความเครียด พฤติกรรมการออกกำลังกายและพฤติกรรมการรับประทานยา ที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.76 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .02) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหาร ด้านการสูบบุหรี่ ด้านการดื่มแอลกอฮอล์ และด้านการจัดการความเครียด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p =.15, p = .18, p = .28 และ p = 69 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ กลุ่มเสี่ยงมีโอกาสเป็นผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น จึงควรจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยรายใหม่
References
2. International Diabetes Federation [IDF]. สถานการณ์โรคเบาหวาน ปี พ.ศ.2560. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 1 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2019/11/18054, 2017.
3. กลุ่มเทคโนโลยี ระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคติดต่อ. แผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ.2562-2564, 2562.
4.American Diabetes Association. Standards of Medical Care in Diabetes-2009.Diabetes Care 2009; 32(1): np.
5. ปิยาภรณ์ เลิศศรีมงคล. การบริโภคการออกกำลังกายและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.
6. กฤษณา คำลอยฟ้า. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นคาราชสีมา 2554; 17(1): 17-30.
7. สุวรรณี สร้อยสงค์ และคณะ. พฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ความคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี 2557; 28(2):1-11.
8. Schulze B, Hoffmann K, Linesisen J, Rohrmann S, Boeing H, Mohlig M, et al. An accurate risk score based on anthropometric, dietary, and lifestyle factors to predict type 2 diabetes. Diabetes Care 2007;30 (3): 510-515
9. Nichols A, Hillier A, Brown B. Progression from newly acquired impaired fasting glucose to Type 2 Diabetes.Diabetes Care 2007; 30 (2): 228-233.
10. World health organization. Tobacco. [อินเตอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www. who.int/mediacentre/factsheets/ fs339/en/, 2016.
11.Chang A. Smoking and type 2 diabetes mellitus. Diabetes Metab J 2012; 36(6): 399-403.
12. ศิราณี อิ่มน้ำขาว. รูปแบบพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของผ้สููบบุหรี่ที่เข้ารับการบําบัดในคลินิกเลิกบุหรี่ โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารกองการพยาบาล2555; 39(3): 7-20.
13.Yavari A., Najafipoor F., Alias-garzadeh A., Niafar M., Mobasseri M. Effect of Aerobic Exercise, Resistanr training or combined training on Glycemic control and Cardio-Vascular Risk factors in Patient with Type 2 Diabetes. Biology of Sport 2012; 29(2): 135-143.
14. ฤดีมาส ใจดี. ปจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกําลังกายของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 61 เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก, 2559.
15. ดวงจิตต์ นะนักวัฒน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์: กรุงเทพฯ, 2550.
16. เมธี วงศ์วีระพันธุ์. การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2559; 47(1): 40-47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว