คุณภาพน้ำดื่มโครงการน้ำดื่มประชารัฐ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
น้ำดื่มประชารัฐ คุณภาพน้ำดื่ม ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองในห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพน้ำดื่มโครงการน้ำดื่มประชารัฐ 2) สำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติโครงการประชารัฐ จำนวน 6 ตู้ สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยการเก็บตัวอย่างน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติมาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม ใช้แบบบันทึกสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพน้ำดื่มโครงการน้ำดื่มประชารัฐ จำนวน 6 ตู้ 1) มีคุณลักษณะของคุณภาพน้ำดื่มทางเคมีที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คือ ความกระด้าง ร้อยละ 16.67 2) ผลการสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ พบว่า ไม่เหมาะสมทั้งหมด โดยพบฝุ่นรอบตู้ บริเวณหัวจ่ายน้ำมีตะไคร่น้ำและไม่มีประตูปิด-เปิดช่องจ่ายน้ำ
ข้อเสนอแนะ ผู้ดูแลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มและสภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
References
2. น้ำทิพย์ มุมมาลา, สุรศักดิ์ เสาแก้ว. การศึกษาสถานการณ์ของบทบัญญัติท้องถิ่นในการกำกับและดูแลคุณภาพมาตรฐานของน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ จังหวัดเพชนบูรณ์. วารสารอาหารและยา. 2561; (กันยายน-ธันวาคม): 64-74.
3. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วง เขตสุขภาพที่ 7 [อินเทอร์เน็ต]; 2562. [เข้าถึง เมื่อ 16 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php.
4. ธัญญามาศ สินเจิมสิริ. คุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ เขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น. [รายงานการวิจัย คณะสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน]. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2559.
5. สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สาชา 5. จำนวนกองทุนหมู่บ้านที่ดำเนินโครงการน้ำดื่มประชารัฐ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น; 2562.
6. อภินันท์ เครือรอด. การปนเปื้อนโคลีฟอร์มแบคทีเรียในน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.
7. WEF, AWWA, APHA. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater 23rd Edition. Washington, DC: American Public Health Association; 2017 Part 2120 B Color : Visual Comparison Method.
8. สุมลรัตน์ ชูวงษ์วัฒนะ. การตรวจวิเคราะห์อาหารและน้ำบริโภคทางจุลชีววิทยา. ใน: กนิษฐา กิตติคุณ. การวินิจฉัยโรคติดเชื้อแบคทีเรียทางการแพทย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991); 2553. หน้า 298-299.
9. สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือปฏิบัติตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.
10. ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การใช้อาหารตรวจเชื้อแบคทีเรีย (อ.11) ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภคโดยชุมชน [อินเทอร์เน็ต]; 2558. [เข้าถึง เมื่อ 29 ก.พ. 2563]. เข้าถึงได้จาก
http://rldc.anamai.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=63&Itemid=343.
11. นพคุณ ยรรยงค์, สุธน เพ็งคุ้ม, โชคชัย เกตุสถิต, พิมพ์พิชญ์ สังข์แป้น. การประเมินคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่เขตบริการสุขภาพที่ 2. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. 2558; 6(1): 20-34.
12. เกษรา เวทยานนท์. ผลกระทบจากนโยบายน้ำดื่มประชารัฐในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2560; 10(สิงหาคม): 219-227.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว