ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีไทยในชนบท ตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ มูลพิมพ์ คณะสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
  • เทพไทย โชติชัย

คำสำคัญ:

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์,พฤติกรรม,สตรีไทยในชนบท

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive Research) ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีไทยในเขตชนบท ตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร ประชากรคือ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 35-49 ปี ที่อาศัยอยู่เขตชนบทในจังหวัดสกลนคร จำนวน 642 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มกราคม 2563 โดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น(Reliability) เท่ากับ 0.67 จำนวน 151 ชุด วิเคราะห์และนำเสนอ โดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ Chi-square -test

ผลวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความชุกของการดื่มแอลกอฮอล์ (ดื่มในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา) เป็น 34.0 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 42.34 ปี (S.D. = 5.27) ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 3000-9000 บาท ร้อยละ 38.4 อาชีพส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกร ร้อยละ 55.6 ด้านความรู้พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ระดับต่ำและระดับสูงเท่ากันคือร้อยละ34.44 กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติในระดับสูง ร้อยละ 54.30 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ ความรู้ (p-value < 0.001) และสถานภาพสมรส (p-value < 0.05)

          ข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่น การส่งเสริมอาชีพในหมู่บ้าน และมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. World Health Organization. (2004). Global status report on alcohol 2004. World Health Organization Department of Mental Health and Substance Abuse. Geneva: World Health Organization.
2.กฤษฏ์ โพธิ์ศรี, ผดุงศิษฏ์ ชำนาญบริรักษ์ และกิตติศักดิ์ ไกรจันทร์.แนวโน้มของผู้บริโภค
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2560;13(2):8-16.
3.เพียงพิมพ์ ปัณระสี และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสตรี
ไทยและวิธีการลดการดื่ม[อินเทอร์เน็ต].วารสาร EAU HERITAGE;2560.[เข้าถึงเมื่อ 13 ต.ค 2562] เข้าถึงได้จากhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSci/article/view/89793/75741
4.มัลลิกา จิงต๊ะ.การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีตำบลไชยสถานอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่[อินเทอร์เน็ต].วารสารสาธารณสุขล้านนา;2552.[เข้าถึงเมื่อ 13 ต.ค. 2562] เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/192327
5.สาวิตรี อัษณางค์กรชัย.พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทยปี พ.ศ. 2560.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:สหมิตรพัฒนาการพิมพ์;2562.
6.สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ.พิษของแอลกอฮอล์.สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. มปป;27
7.เพียงพิมพ์ ปัณระสี และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีวัยแรงงานภาคเกษตรกรรม[อินเทอร์เน็ต].วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี;2562.[เข้าถึงเมื่อ 19 ต.ค 2562] เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/231585-Article%20Text-781195-1-10-20191225%20(1).pdf
8.สำนักงานสถิติแห่งชาติ.พฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร.กรุงเทพฯ:สำนักงานสถิติแห่งชาติ;2560.
9.กิตติยา จุลวัฒฑะกะ.รูปแบบการดําเนินงานจังหวัดปลอดเหล้า.วารสารการพัฒนาสุขภาพ
ชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารมหาวิทยาลัยขอนแก่น.2558;3(1)
10.Best J.W. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood cliffs; 1977
11.พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย .ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชนของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบสถานศึกษาในหวัดอุตรดิตถ์[อินเทอร์เน็ต].วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา;2553.[เข้าถึงเมื่อ 19 ต.ค 2562] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/108324
12.เพียงพิมพ์ ปัณระสี และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีวัยแรงงานภาคเกษตรกรรม[อินเทอร์เน็ต].วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี;2562.[เข้าถึงเมื่อ 19 ต.ค 2562] เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/231585-Article%20Text-781195-1-10-20191225%20(1).pdf
13.จิราพร เขียวอยู่และคณะ. ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์กับปัญหาพฤติกรรมการดื่ม สุราของประชาชน ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น[อินเทอร์เน็ต].วารสารวิจัยสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.[เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค 2563] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/kkujphr/article/view/118746
14.เพียงพิมพ์ ปัณระสี และณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของสตรีไทยกับวิธีการลดการดื่ม[อินเทอร์เน็ต].วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี;2560.[เข้าถึงเมื่อ 10 ม.ค 2563] เข้าถึงได้จาก www.tci-thaijo.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020