ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ภาวะน้ำหนักเกิน, โรคอ้วน, พฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 153 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างสุ่มแบบชั้นภูมิ แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน และพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.721 หาค่าความยากง่ายโดยใช้วิธีของคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ 0.873 ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและสถิติไคสแควร์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.93 มีความรู้เกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 90.85 มีทัศนคติเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 53.59 และมีพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 93.46ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน คือ ด้านการรับรู้เกี่ยวกับรูปร่างของตนเอง มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.032) ส่วนความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกิน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
2. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.). อันตรายของโรคอ้วน [อินเทอร์เน็ต]; 2557 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จาก https://www.hfocus.org/content/2014/06/7449
3. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Disease [NIH], (2015). Overweight and obesity statistics. Retrieved from :http://www.niddk.nih.gov/health-information/health
4. อภิชัย คุณีพงษ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักศึกษาปริญญาตรี [อินเทอร์เน็ต]. ปทุมธานี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์; 2560 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JSH/article/view/121362/92586
5. เบญญาภา กาลเขว้า และคณะ. รายงานวิจัยภาวะโภชนาการบุคลากรวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น; 2557.
6. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย.(หลักสูตรภาษาไทย) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2556.
7. Best J.W. Research in Education. New York: Prentice-Hall, Englewood cliffs; 1977
8. Kuder-Richardson KR20 Formula. In: Michalos AC, editor. Encyclopedia of Quality of Life and Well-Being Research. Dordrecht: Springer Netherlands; 2014. p. 3482-.
9. มัลลิกา จันทร์ฝั้น. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพต่อโรคอ้วน ของนิสิตสาขาวิชาสุขศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จากhttp://ped.edu.ku.ac.th/home/specialproblem/files/25_05_2015_22_08_22.pdf
10. ณิชาพัฒน์ ชิระพลเศรษฐ์. ความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคอ้วน และพฤติกรรมในการควบคุมและลดน้ำหนักของนักศึกษาหญิงระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/Chapter%204.pdf
11. ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์และลัดดาวัลย์ กงพล. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี [อินเทอร์เน็ต]. ปทุมธานี: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์; 2561 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/80370/87984
12. สุทธิชา สายเมือง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. [อินเทอร์เน็ต]. กำแพงเพชร: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2556 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/Administrator/Downloads/30.pdf
13. ฉัตรลดา ดีพร้อม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จาก http://newtdc.thailis.or.th/docview.aspx?tdcid=244381
14. อนุกูล พลศิริ. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2551 [เข้าถึง เมื่อ 23 ก.ย. 2562], เข้าถึงได้จาก http://www.researcher.ru.ac.th/Research_File/0000000105.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว