ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
สื่อสังคมออนไลน์, พฤติกรรม, ผลกระทบ, อินเตอร์เน็ต, นักศึกษาบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร จังหวัดขอนแก่น ประชากรคือ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 568 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 281 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สุ่มอย่างง่าย และอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มกราคม พ.ศ 2563 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และสมการการถดถอยพหุโลจิสติก พร้อมช่วงเชื่อมั่น (95%CI)
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.52 มีอายุเฉลี่ย 20.32 ปี (S.D. = 1.66) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้รับค่าใช้จ่ายที่ได้รับจากครอบครัวเฉลี่ย 6,263.35 บาทต่อเดือน (S.D. = 3,444.14) ระดับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 61.57 ทัศนคติต่อพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 58.72 ระดับผลกระทบจากพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.75 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ประกอบด้วยรายได้ของครอบครัว (Adjusted OR = 2.32, 95%CI: 1.36-3.95, p-value 0.001) ทัศนคติต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Adjusted OR = 1.59, 95%CI: 1.30-1.97, p-value <0.001)
ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมที่ทำให้สามารถเข้าถึงสื่ออย่างถูกต้อง และเหมาะสม เช่น ร่วมทำกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวทดแทนการใช้เวลากับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
References
ปิยวัฒน์ เกตุวงศา, ศุทธิดา ชวนวัน. ใครเป็นใครบนเครือข่ายสังคมออนไลน์และความหลากหลายทางคุณลักษณะและพฤติกรรม. เอกสารนำเสนอในการประชุม: การประชุมประชากรและสังคม; วันที่ 1 ก.ค. 2558; กรุงเทพฯ: โรงแรมเอเชีย.
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์. 2557; 32(2): 2-24.
ภาณุวัฒน์ กองราช. การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook [วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.
ภัททิรา กลิ่นเลขา. ผลกระทบจาก การใช้สื่อโซเชียลมีเดียของนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.เอกสารนำเสนอในการประชุม: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 9; 20 ก.ค. 2561; สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
กายกาญจน์ เสนแก้ว. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ Gen-X ใน กรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558
กิตติพศ ทูปิยะ. พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและสารสนเทศของนิติมหาวิทยาลัยบูรพา [วิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med. 1998; 17(14): 1623-34.
Likert R. New patterns of management. New York: McGraw-Hill; 1961.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.
ทิวา โฆษิตธีรชาติ. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.gspa.buu.ac.th/e-pa/images/stories/upload/2558/58930146.pdf
Kivunja C. The Efficacy of Social Media Technologies in Academia: A Pedagogical Bliss or Digital Fad?. International Journal of Higher Education. 2015; 4(4): 33-44.
สุพรรณนา เอี่ยมสะอาด. การศึกษาพฤติกรรมและความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2552.
จิรภัทร เริ่มศรี. พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊คที่มีผลกระทบต่อนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 22 ต.ค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2558Vol9No1_10.pdf
พรรณิการ์ พุ่มจันทร์, นุชจรีย์ หงษ์เหลี่ยม, พัชดาพรรณ อุดมเพ็ชร. พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาแพทย์ระดับปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช. 2558; 8(1): 27-35.
กมลลักษณ์ อินทร์เอก. การศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเซียลมีเดียของนักเรียน โรงเรียนลาดทิพรสพิทยาคม อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสาร บรรณศาสตร์ มศว. 2560; 10(2): 16-31.
ชลธิชา จุ้ยนาม, นพพร จันทรนำชู. พฤติกรรมและผลจากการใช้เครือข่ายทางสังคมออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 2558; 8(3): 84-95.
จุฬาลักษณ์ ประจะเนย์. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภาย ในครอบครัว รูปแบบการดำเนินชีวิต รูปแบบความ ผูกพันภายในครอบครัว กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการติดเกมของวัยรุ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2556.
บุญญรัตน์ นทีสถิตธาร. พฤติกรรมและผลกระทบในการใช้อินเตอร์เน็ตประกอบการเรียนของโรงเรียนสิงห์บุรี [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกระบบสารสนเทศ]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว