การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมุขภาพตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตัวแทนจากท้องถิ่น ท้องที่ การศึกษา ศาสนา อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 170 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ paired t-test และ 95% ช่วงเชื่อมั่น
ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมูลเหล็กครั้งนี้ มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพปัญหา 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนแบบมีส่วนร่วม 3) จัดทำแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผนงาน/โครงการ 5) ติดตามสนับสนุนและประเมินผลการดำเนินงาน 6) จัดเวทีแลกเปลี่ยนและถอดบทเรียน ผลการดำเนินงานพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ การปฏิบัติตัว และการมีส่วนร่วม เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนพัฒนารูปแบบ โดยมีค่าเฉลี่ยของผลต่างความรู้ เท่ากับ 10.28 คะแนน (SD=0.23, 95%CI=9.81 - 10.74, p-value<0.001), การปฏิบัติตัว เท่ากับ 1.06 คะแนน (SD=0.56, 95%CI=0.97 – 1.14, p-value<0.001) และการมีส่วนร่วม เท่ากับ 1.53 คะแนน (SD=0.73, 95%CI=1.42 - 1.64, p-value<0.001) และส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบในระดับมากที่สุด ร้อยละ 62.94
โดยสรุปปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานครั้งนี้เกิดจาก 1) การใช้กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพชุมชน 2) สร้างระบบการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน 3) ส่งเสริมกิจกรรมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานดูแลกันเอง และ 4) การกำหนดผู้รับผิดชอบหลักอย่างรูปธรรมในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน ปัจจัยดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนให้บรรลุตามเป้าหมายในที่สุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว