ความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วีระ กองสนั่น
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มประชากร  คือ  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 186 คน โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 139 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน  ได้แก่  ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ส่วนที่ 3 พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมีคะแนนการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (93.53%) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีคะแนนความคิดเห็นอยู่ในระดับสูง (57.91%) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อสม. เขตตำบลหนองใหญ่ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.710, P-value<0.001)

References

1. Hammon WM., Rudnik A., Sather GE. Viruses associated with epidemic
hemorrhagic fever of the Philippines and Thailand. Science, 1960); 131(11): 3.
2. สำนักระบาดวิทยา. รายงานการพยากรณ์โรค “ไข้เลือดออก”. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุข, 2558.
3. กระทรวงสาธารณสุข. (Health Data Center. [อินเตอร์เน็ต]. เข้าถึงได้จาก:
https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php., 2563.
4. กองสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ
หลักสูตรการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.). กรุงเทพฯ: เรดิเอชั่น, 2522.
5. Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: A challenge for
contemporary health education and communication strategies into the 21st
century. Health Promotion International, 2000; 15(3): 259-267.
6. Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health
Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons, 2010.
7. Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall,
1977.
8. Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: Harper,
1951.
9. กรมควบคุมโรค. คู่มือวิชาการโรคติดเช้ือเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกี ปี 2558. กรม
ควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2558.
10. HLS-EU Consortium. Comparative report on health literacy in eight EU
member states. The European Health Literacy Survey HLS-EU. [Online]
Available from: www.HEALTH-LITERACY.EU, 2012.
11. อัญชลี จันทรินทรากร. ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับพฤติกรรมการ
ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.
12. วิจิตรา ดวงขยาย. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกกับพฤติกรรมการ
ป้องกันโรคไข้เลือดออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. พะเยา:
มหาวิทยาลัยพะเยา; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020