สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ฉวีพงศ์ บุญกาญจน์

คำสำคัญ:

สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ, ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STEMI กลุ่มประชากรคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินและหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิที่เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายรอง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 86 คน ใช้วิธีการเลือกประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling) ตามเกณฑ์การคัดเข้าและเกณฑ์การคัดออก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่  ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ความรู้การดูแลผู้ป่วย ส่วนที่ 3 สมรรถนะในการดูแลผู้ป่วย แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความรู้การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI  มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (=2.84, S.D.=0.371) และสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (=4.34, S.D.=0.384) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ความรู้การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.979, P-value=0.003) ดังนั้น การจัดอบรมให้ความรู้แก่พยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดสมรรถะในการดูแลผู้ป่วยและลดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน

References

1. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองยุทธศาสตรและแผนงาน. สถิติสาธารณสุข
พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด, 2562.
2. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาสถานการณ์การ
เสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทย, 2562.
3. ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, สราญรัตน์ ลัทธิ. ประเด็นสารรณรงค์วันหัวใจโลก
(World Heart Day). สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กรุงเทพมหานคร, 2562.
4. Ibanez B., James S., Agewall S., et al. ESC Guidelines for the management of
acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation:
The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). European Heart Journal, 2017, 39(2): 119-177.
5. ณรงค์กร ชัยวงศ์, ปณวัตร สันประโคนม. ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของ
พยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤติ. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ,
2562, 14(1): 43-51.
6. Bloom, B.S. Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York,
1975.
7. Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice
Hall, 1977.
8. Cronbach. Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row, 1997.
9. วิจิตร ศรีสุพรรณ. การวิจัยทางการพยาบาล: หลักการและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4.
โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่, 2552.
10. วันเพ็ญ แสงเพ็ชรส่อง, ทัชวรรณ ผาสุก, ธนิตา ฉิมวงษ์. การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรค
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระยะวิกฤตในโรงพยาบาลระยอง. วารสารกองการพยาบาล, 2555, 39(1): 32-45.
11. ดรุณศรี สิริยศธำรง, ชนกพร อุตตะมะ, นาฏยา เอื้องไพโรจน์, ปริชาติ ขันทรักษ์. การพัฒนา
ระบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI. วารสารกองการพยาบาล, 2557, 41(1): 56-73.
12. จิราวรรณ รุ่งเรืองวารินทร์, ศรีสุรีย์ สูนพยานนท์, อัญชลี คงสมบุญ. การพัฒนาระบบส่งต่อ
ช่องทางด่วน ผู้ป่วย STEMI จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2559, 6(1): 2-14.
13. มาลี คำคง, สิริลักษณ์ อุ่ยเจริญ. การดูแลผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน: ความท้าทายของ
โรงพยาบาลชุมชน. อุดรธานี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี, 2560.
14. Good Carter V. Dictionary of Education. (3nd ed.) New York: McGraw-Hill Book,
1973.
15. เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุลย์, บุปผาวัลย์ ศรีล้ำ. การพยาบาลเพื่อความปลอดภัย: สมรรถนะพยาบาล CVT. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: สุขุมวิทการพิมพ์, 2556.
16. จรินทร์ ขะชาตย์, เจริญพิศ ปรียาศักดิ์สกุล, สมควร สุขสัมพันธ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infraction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 2557, 24(10: 136-148.
17. พรเพ็ญ ทุนเทพย์. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคหล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 2554,
26(2): 247-261.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020