การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการในกลุ่มผู้สูงอายุ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • เทอดศักดิ์ นำเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • จารุณี วาระหัส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
  • ศักรินทร์ สุวรรณเวหา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, อาหารและโภชนาการ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในกลุ่มผู้สูงอายุระดับพื้นที่ของตำบลเขารูปช้าง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเปราะบางทางโภชนาการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน   (อสม.) ผู้ประกอบการร้านค้า ในพื้นที่เทศบาลตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2561 ถึงเดือนกันยายน 2562  การรวบรวมข้อมูล     เชิงคุณภาพตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้วิธีการของลินคอร์นและกูบ้า (Lincoln & Guba) โดยมีการตรวจสอบข้อมูล 4 ประการ คือ1) ความน่าเชื่อถือ 2) การนำผลการวิจัยไปใช้ 3) การเข้าใจกระบวนการตัดสินใจในการวิจัยหรือการสรุปผลของผู้อ่าน 4).การปราศจากความลำเอียงของผู้วิจัย ใช้เทคนิคการตรวจสอบสามเส้า การเก็บข้อมูลหลากหลายวิธีและการสอบทานข้อมูลเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการสังเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการของกลุ่มผู้สูงอายุพบว่า โดยภาพรวม ผู้สูงอายุของตำบลเขารูปช้าง มีภาวะโภชนาการที่ปกติ การสังเคราะห์การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ตำบลเขารูปช้าง พบว่า ภาคีองค์กรต่างๆในชุมชน ได้แก่  เทศบาลเมืองเขารูปช้าง              โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ร่วมประชุมวางแผน รับฟังความคิดเห็น เชื่อมโยงเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำประชาคม    ลงสู่การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมตามแนวทางอาหารของแม่ใน 3 มิติ คือ อาหารสะอาด  โภชนาการ  ถูกหลักและทำด้วยความรัก จากผลการดำเนินงานดังกล่าว ได้รูปแบบ  การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ตำบลเขารูปช้าง จำนวน 7 โครงการ โดยมีโครงการภายใต้มิติอาหารสะอาด จำนวน 3 โครงการ โภชนาการถูกหลัก จำนวน 2 โครงการ และทำด้วยรัก จำนวน  2 โครงการ

         จากผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชนเกิดความตระหนักในการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการในกลุ่มวัยต่างๆและนำผลการปฏิบัติสู่การพัฒนานโยบายเพื่อการส่งเสริมโภชนาการที่ยั่งยืนของชุมชน

References

1. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล. 2557; มปท.

2. จินตนา สุวิทวัส. ภาวะโภชนาการและบริโภค นิสัยของผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในแผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2554; 34(3): 22-
30.

3. ชมนาด พจนามาตร์, สมบูรณ์ จัยวัฒน์, สงกรานต์ ก้อนแก้ว, และนงลักษณ์ จันทร์แก้ว. การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการหมู่บ้านอาหารปลอดภัย. พยาบาลสาร. 2555;
39 (1): 35-45.

4. นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล. Interventions to promote right nutrition during early life. ในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 8: โภชนาการเพื่อการส่ง
เสริมสุขภาพและป้องกันโรค, 39-40. วันที่ 6 - 8 ตุลาคม ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร; 2557.

5. ลัดดา เหมาะสุวรรณ. โภชนาการช่วงแรกของชีวิตกับสติปัญญา. ในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 8 เรื่องโภชนาการเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค,
41 วันที่ 6 - 8 ตุลาคม ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร; 2557.

6. วิลาสินี อดุลยานนท์. การสื่อสารด้านอาหารและโภชนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. ในการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 8: โภชนาการเพื่อการส่ง
เสริมสุขภาพและป้องกันโรค, 32-34.วันที่ 6 - 8 ตุลาคม ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร; 2557.

7. กฤติน ชุมแก้วและชีพสุมน รังสยาธร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกกรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. กรุงเทพฯ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.

8. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน. อาหารเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ. [อินเทอร์เน็ต] กรุงเทพฯ: [เข้าถึงเมื่อ 18 ธันวาคม 2561].เข้าถึงได้จาก
http://www.msdbangkok.go.th/BKT/b3.html.

9. สามารถ ใจเตี้ย, และดารารัตน์ จำเกิด. การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน. วิจัยราชภัฏเชียงใหม่. 2557; 15(2), 37-45.

10. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. ระบบข้อมูลสารสนเทศระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา: ระบบรายงานผู้ป่วยนอก [อินเทอร์เน็ต]..สงขลา: สำนักงาน
สาธารณสุขจังหวัดสงขลา. [เข้าถึงเมื่อ 19 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://center.skho.moph.go.th/
hinforeport_new/index.php/newreport/submenu/6

11. จริยภัทร รัตโณภาส. ผู้แต่งร่วม : วิทวัส เหมทานนท์. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรกับภาคการผลิต จังหวัดสงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: สงขลา; 2553.

12. Macdonald, Cathy. Understanding participatory action research: A qualitative research methodology option. Canadian Journal of Action
Research. 2012; 13(1): 34-50.

13. วรรณวิมล เมฆวิมล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม : วิจัยวิทยาลัยสหเวชศาสตร์มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา; 2557.

14. วรรณวิมล เมฆวิมล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2555.

15. รวิโรจน์ อนันตธนาชัย และคณะ. การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารกับภาวการณ์มีอายุยืนของผู้สูงอายุไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2552.

16. ชวิศา แก้วอนันต์. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ:มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2561; 12(2): 112-119.

17. ทิพวัลย์ สุวรรณรักษ์. นวัตกรรมอาหารสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ:มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 2560; 11(3): 1-10.

18. นพนันท์ วรรณเทพสกุล. นโยบายสาธารณะท้องถิ่นจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ บทวิเคราะห์นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ จ. สงขลา. กรุงเทพฯ. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ;
2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-12-2019