การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ชไมพร ศักดิ์ดีศรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • บุญฐิตา สัตยกิจกุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วรวุฒิ ชมพูพาน

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมและการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดไอโอดีน กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยบริการปฐมภูมิที่โรงพยาบาลนายูง ในเขตพื้นที่อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 98 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนและแบบสอบถามการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราค ของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์และนำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติไคสแควร์ ทั้งนำเสนอค่าอัตราความเสี่ยงสัมพัทธ์ที่ระดับนัยสำคัญทาสถิติเท่ากับ 0.05 โดยใช้ค่าช่วงเชื่อมั่น 95%

            ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 81.63 และการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 51.02 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ในระดับดี คือ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารไอโอดีน การรับรู้ความรุนแรงของโรคขาดสารไอโอดีน การรับรู้ประโยชน์ของการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน คิดเป็นร้อยละ 50.00, 54.08 และ 50.00 ตามลำดับ ส่วนด้านที่อยู่ในระดับไม่ดี คือ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิง ร้อยละ 78.33 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของการรับรู้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า มีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.0464) ข้อเสนอแนะควรมีการส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โดยจัดให้โปรแกรมสุขศึกษาในโรงเรียนพ่อแม่  พร้อมทั้งใช้ปฏิทินในการบันทึกพฤติกรรม โดยสามีและญาติมีบทบาทในการสนับสนุนการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์

References

1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. การนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]; 2560. [เข้าถึง เมื่อ 5 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก http:// www.oae.go.th

2. สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]; 2559. [เข้าถึง เมื่อ 5 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก http://envocc. ddc.
moph.go.th.

3. สำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม จังหวัดขอนแก่น. ผลการตรวจสารเคมีในเลือด. เอกสารอัดสำเนา; 2560.

4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี. ผลการตรวจสารเคมีในเลือด หมู่ 8. เอกสารอัดสำเนา; 2558.

5. อภิมัณฑ์ สุวรรณราช และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอันตรายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่ง
เสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่งตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

6. ณัฐธญา วิไลวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธต่อการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยปทุมธานี;
2559.

7. ไชยา พรมเกษ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัด
อุบลราชธานี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2558.

8. มงคล รัชชะ, สุรเดชสําราญจิตต์,จุฑามาศ แสนท้าว,ศรราม สุขตะกั่ว. พฤติกรรมการป้องอันตรายจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในเกษตรกรบ้านทุ่งนางครวญ ตําบลชะแล
อําเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง; 2555.

9. วิชาดา สิมลาและตั้ม บุญรอด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในตำบล แหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. คณะ
วิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2555.

10. สุเพ็ญศรี เบ้าทองและอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น. ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

11. อนุวัตน์ เพ็งพุฒ. ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับเอนไซต์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร ตำบลสงเปลือย อำเภอ
นามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-12-2019