ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบ Pre test – post test two – group design ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาที่คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 35 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง ที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับบริการตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ทุกข้อคำถามได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความที่ยงด้านการปฏิบัติฯ เท่ากับ 0.742 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 71.4 อายุเฉลี่ย 61.17 ปี (S.D.= 9.95) ระยะเวลาเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 5.88 ปี (S.D.= 3.76) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบ ส่วนใหญ่เพศหญิง ร้อยละ 62.9 อายุเฉลี่ย 60.45 ปี (S.D.= 9.33) ระยะเวลาเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 5.60 ปี (S.D.= 4.25) หลังการทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเอง ของกลุ่มทดลอง เท่ากับ2.78 คะแนน (S.D.= 0.15) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 2.56 คะแนน (S.D.= 0.20) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีคะแนนการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยหลังกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 0.22 คะแนน (95%CI : 0.13 – 0.30), p-value <0.001) ดังนั้น ควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้อย่างต่อเนื่องและขยายผลไปยังผู้ป่วยความดันโลหิตสูงคนอื่นๆ
References
โรค; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 28 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/document/file/info/non-communicable-disease/
2. Bandura, A. Self – efficiacy : Toward a uniflying theory of behavior change. Psychological Reviews. 1977; 84(2): 191-215.
3. สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีและโมเดลการประยุกต์ใช้ในงานสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ยุทธรินทร์การพิมพ์; 2548.
4. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
5. เนาวรัตน์ จันทานนท์ บุษราคัม สิงห์ชัย และวิวัฒน์ วรวงษ์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอําเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัย มข. 2554;
16(6): 749-758.
6. อนงค์ นิลกำแหง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดระดับไขมัม โคเลสเตอรอลในเลือดของบุคลากรโรงพยาบาลชัยนาท. [วิทยานิพนธ์วิทยา
ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ]. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์; 2550.คณะสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยรามคําแหง; 2555.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว