ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านหนองหัววัว ตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิภาดา กระตุดนาค
  • สายัณต์ แก้วบุญเรือง
  • บุญร่วม แก้วบุญเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร โดยมีเก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม พ.ศ.2561 กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกร จำนวน 122 คน ข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด      ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติไคสแควร์

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.93 มีระดับการศึกษาชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 68.85 ช่วงรายได้ต่อเดือนมากที่สุด คือ น้อยกว่า 2,000 บาท ร้อยละ 49.18 และมีพื้นที่ในการเพาะปลูกน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ไร่ ร้อยละ 69.67 มีทัศนคติอยู่ในระดับดี ร้อยละ 50.82 และพฤติกรรมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 64.75 เมื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรพบว่าปัจจัยด้านอายุ รายได้ต่อเดือน ความรู้และทัศนคติ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.05)

ข้อเสนอแนะ ควรมีการศึกษาในเชิงวิจัยกึ่งทดลองโดยมีการให้โปรแกรม เช่น การให้ความรู้และสมุนไพรในการล้างสารเคมีตกค้างในเลือด รวมถึงมีการวัดผลก่อนและหลังการให้โปรแกรมและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

References

1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. การนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]; 2560. [เข้าถึง เมื่อ 5 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก http:// www.oae.go.th

2. สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. โรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [อินเทอร์เน็ต]; 2559. [เข้าถึง เมื่อ 5 พ.ย. 2560]. เข้าถึงได้จาก
http://envocc. ddc. moph.go.th.

3. สำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม จังหวัดขอนแก่น. ผลการตรวจสารเคมีในเลือด; 2560.

4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกสี. ผลการตรวจสารเคมีในเลือด หมู่ 8; 2558.

5. อภิมัณฑ์ สุวรรณราช และปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากอันตรายในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่ง
เสริมสุขภาพ ตำบลบ้านเหมืองแบ่งตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย. ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

6. ณัฐธญา วิไลวรรณ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธต่อการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยปทุมธานี;
2559.

7. ไชยา พรมเกษ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัด
อุบลราชธานี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี; 2558.

8. มงคล รัชชะ, สุรเดช สําราญจิตต์,จุฑามาศ แสนท้าว,ศรราม สุขตะกั่ว. พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในเกษตรกรบ้านทุ่งนางครวญ ตําบล
ชะแล อําเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง; 2555.

9. วิชาดา สิมลาและตั้ม บุญรอด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในตำบล แหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง.
คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2555.

10. สุเพ็ญศรี เบ้าทองและอุไรวรรณ อินทร์ม่วง. พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น. ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

11. อนุวัตน์ เพ็งพุฒ. ปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างโดยการตรวจระดับเอนไซต์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน
จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-12-2019