พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มน้ำอัดลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศุภรัตน์ กุลเสน
  • สุทิน ชนะบุญ
  • ลำพึง วอนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (Cross-sectional descriptive research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งอำเภอเมือง ในจังหวัดขอนแก่น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) จำนวน 210 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square และ Multiple logistic regression

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม ร้อยละ 96.67 อายุเฉลี่ย 13 ปี และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม ได้แก่ สถานที่ซื้อน้ำอัดลมร้านค้าภายในโรงเรียน (Adjusted OR=3.77, 95% CI :.45-9.78) ร้านค้าภายนอกโรงเรียน (Adjusted =4.97, 95% CI: 1.94-13.07) ปัจจัยเอื้อต่อพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมรายข้อ (Adjusted =3.12,  95% CI: 1.33-7.33)

ผลการศึกษาครั้งนี้ จะนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกำหนดแนวทางในการดูแลป้องกันการดื่มน้ำอัดลมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

References

1. ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6-18 ปี. กองโภชนาการ กรมอนามัย. กรุงเทพฯ; 2548.

2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี กรมอนามัย 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.

3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560 กรมอนามัย. กรุงเทพฯ; 2560.

4. ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย.กรมอนามัย. กรุงเทพฯ; 2559.

5. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2556.

6. นภาพร เหมาะเหม็ง, ประทุมยนต์เจริญล้ำและสุธีราพินิจ. การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ศูนย์
อนามัยที่ 9 พิษณุโลก; 2558.

7. วิภากร สอนสนาม, วิวัน ละมนเทียร, เพ็ญนภา ฤทธิ์วงศ, จิระประภา ศรีสารคาม, ไกรทอง, พาณี ยงใจยุธ. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และระดับภาวะโภชนาการของนักเรียน
ระดับประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2552.

8. นพร อึ้งอำภรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการและการติดเชื้อพยาธิใบไม้ของเด็กวัย เรียนในจังหวัดสุรินทร์. นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04-12-2019