ปริมาณสารอาหารที่ได้รับและภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นิธิพัฒน์ โพชะโน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เบญญาภา กาลเขว้า วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ประทีป กาลเขว้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปริมาณสารอาหารที่ได้รับ ภาวะโภชนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์อายุของนักเรียนชั้นประถมศึกษา    ตอนปลายโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตเทศบาล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 68 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก, เครื่องวัดส่วนสูง, กราฟการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ช่วงอายุของกระทรวงสาธารณสุข วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์อายุ โดยใช้ไคสแควร์ (Chi-square)

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.94 มีอายุเฉลี่ย 11 ปี (S.D.=0.90) ปริมาณพลังงานและสารอาหารในภาพรวม พบว่า ปริมาณไม่เพียงพอ และภาวะโภชนาการพบว่า ส่วนใหญ่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ ร้อยละ 80.56 ส่วนใหญ่มีส่วนสูงตามเกณฑ์ ร้อยละ 55.88 ส่วนใหญ่มีภาวะสมส่วน ร้อยละ 70.59 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการน้ำหนักตามเกณฑ์อายุอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value 0.17) ดังนั้นในการวิจัยครั้งต่อไปควรมีการเก็บข้อมูลเชิงลึก โดยการบันทึกอาหารที่บริโภคโดยผู้ดูแล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์  โดยสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร รูปแบบการบริโภคอาหารของกลุ่มตัวอย่าง และครอบครัวที่มีภาวะโภชนาการที่เกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์

References

1. ณัฐวรรณ เชาวน์ลิลิตกุล. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6-18 ปี. กองโภชนาการ กรมอนามัย. กรุงเทพฯ; 2548.

2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี กรมอนามัย 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560.

3. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2560 กรมอนามัย. กรุงเทพฯ; 2560.

4. ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานผลการดำเนินงานการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัย.กรมอนามัย. กรุงเทพฯ; 2559.

5. สิรินทร์ยา พูลเกิด. รายงานประจำปี 2556 แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพ; 2557.

6. อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2556.

7. นภาพร เหมาะเหม็ง, ประทุมยนต์ เจริญล้ำและสุธีราพินิจ. การศึกษาภาวะโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ศูนย์
อนามัยที่ 9 พิษณุโลก; 2558.

8. วิภากร สอนสนาม, วิวัน ละมนเทียร, เพ็ญนภา ฤทธิ์วงศา, จิระประภา ศรีสารคาม, ไกรทองและพาณี ยงใจยุธ. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และระดับภาวะโภชนาการของ
นักเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2552.

9. นพร อึ้งอำภรณ์. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโภชนาการและการติดเชื้อพยาธิใบไม้ของเด็กวัย เรียนในจังหวัดสุรินทร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-11-2019