วิถีการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
วิถีการดำเนินชีวิตสมัยใหม่, ภาวะโภชนาการ, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตสมัยใหม่ ของนักศึกษาในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 395 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน 2 ครั้ง ตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาช เท่ากับ 0.92 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับน้ำหนักเกินร้อยละ 10.63 ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 85.57 อายุเฉลี่ย 20.28ปี (S.D.=1.71) ส่วนใหญ่สังกัดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน ร้อยละ 35.44 รายได้ของครอบครัวต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 10,000-20,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 56.71) กลุ่มตัวอย่างกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ร้อยละ 45.57 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มี โรคประจำตัว ร้อยละ 92.15 พฤติกรรมการบริโภคอาหารสมัยที่มีความถี่ของการบริโภคตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปในหนึ่งสัปดาห์ มากที่สุด ประเภทอาหาร คือ การรับประทานเนื้อย่างเกาหลี ร้อยละ 47.85 ส่วนการใช้อินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติ 3-7 วันขึ้นไปในหนึ่งสัปดาห์สูงสุด คือ ใช้สื่อสังคมออนไลน์(ไลน์ เฟซบู๊ค อินสตราแกรม,แชท) ร้อยละ 92.65 ด้านข้อมูลกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการมีความถี่ของการปฏิบัติตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปในหนึ่งสัปดาห์สูงสุดคือ คือ ซัก รีดเสื้อผ้า ร้อยละ 82.02 และข้อมูลการพักผ่อน และนันทนาการพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ของการปฏิบัติตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปในหนึ่งสัปดาห์สูงสุด คือ ดูหนังฟังเพลงผ่านอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 76 ข้อเสนอแนะ ควรมีการส่งเสริมพฤติกรรมวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่ถูกต้องให้กับนักศึกษา เช่น การไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อคลายเครียด การลดการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อความบันเทิง เป็นต้น
References
เข้าถึงได้จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/101572.
2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 6 พฤติกรรมบั่นทอนสุขภาพ หนุ่มสาววัยทำงาน 2559 [อินเทอร์เน็ต]; 2559 [เข้าถึง เมื่อ 4 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก
https://www.thaihealth.or.th/Content/30835-html.
3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ภาวะโภชนาการเกิน [อินเทอร์เน็ต]; 2557 [เข้าถึง เมื่อ 9 ต.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก
https://www.thaihealth.or.th/Content/26723-html.
4. สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: สถาบันวิจัย
ระบบสาธารณสุข; 2554.
5. วิชัย เอกพลากร,บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.
6. ศิวิไล ชยางกูร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ,มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ
ครั้งที่ 8 ; วันที่ 20 มีนาคม 2561; ณ ห้องประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร; 2561.
7. พิชญ์ เพชรคําและพรทิพย์ เย็นจะบก. พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนของวัยรุ่นไทยที่มีผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะ
นิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก
https://www.spu.ac.th/commarts/files/2014/06/13.%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1.pdf.
8. วรท แสงสว่างวัฒนะ. รูปแบบการดำเนินชีวิตและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานที่ออกกำลังกายของกลุ่มผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสถานทีออกกำลังกาย ใน
เขตกรุงเทพมหานคร. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: หลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2119/1/warot.seag.pdf.
9. จิรวรรณ บุญมีและธวัชชัย บุญมี. พฤติกรรมการใช้บริการร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏเชียงใหม่; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www.management.cmru.ac.th/e-book/file/1-2557.pdf.
10. อรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ศึกษาศาตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ [อินเทอร์เน็ต].กรุงเทพฯ:
หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 7 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้
จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000006536.
11. ฌัชสกร คงชีวสกุล และคณะ. พฤติกรรมการออกกําลังกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตสงขลา [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา:
คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 6 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://so01.tci-
thaijo.org/index.php/NUR_YIU/article/view/29746/25614.
12. ชเนตตี สยนานนท์. พฤติกรรมและปัญหาการใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: หลักสูตร
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2561]. เข้าถึงได้จาก
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Hi_Ed/Chanettee_S.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว