การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มตัวอย่าง 200 คน คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน มีนาคม พ.ศ 2562 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระต่อกัน ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้และความพึงพอใจการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรค คือ 1) การมีส่วนร่วมในชุมชน 2) ภาคีเครือข่ายในชุมชน 3) การดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ภาคีเครือข่ายในการควบคุมและป้องกันโรควัณโรคควรมีการทบทวนการปฏิบัติงานด้วยเทคนิค AAR เพื่อทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน
References
from: https://www.who.int/tb/global-report-2019.
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรค ประจำปี 2561. (เอกสารอัดสำเนา); 2561.
3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอท่าบ่อ. สรุปรายงานผู้ป่วยวัณโรคประจำปี 2561. (เอกสารอัดสำเนา); 2561.
4. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ. 2560-2564. (เอกสารอัดสำเนา); 2560.
5. Cronbach, L. J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334; 1951.
6. วิทยา กาพินและพงศ์พิษณุ บุญดา. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรค โรงพยาบาลอุตรดิตถ์.การประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ครั้งที่
1 วันที่ 7-8 ธันวาคม 2560 ณ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.เชียงราย: มหาวิทยาลัย; 2560.
7. จุฬาวรรณ จิตดอน, วนิดา ดุรงฤทธิชัย และกมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. แนวทางการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ปอดในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ.วารสาร มฉก.วิชาการ.
2560; 20(40):1-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว