ประสิทธิผลโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุ ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแล (Care giver) เขตอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 70 ชั่วโมง ปีงบประมาณ 2560 จำนวน 31 คนโปรแกรมพัฒนาทักษะผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงพัฒนาขึ้นโดยการนำผลการวิจัยจากระยะที่ 1 มาใช้ในการออกแบบโปรแกรมฯ ได้แก่ ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์และมีผลต่อทักษะของผู้ดูแลในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย ความรู้ด้าน ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ ระดับการศึกษาโดยผนวกเข้ากับทฤษฎีการรับรู้ด้านสุขภาพและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเองร่วมกับการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การเสริมสร้างความรู้ ทัศนคติและการรับรู้ด้านสุขภาพ กิจกรรมที่ 2 ทีมสหวิชาชีพและผู้ดูแลผู้สูงอายุออกเยี่ยมบ้านกิจกรรมที่ 3 การให้คำปรึกษาแก่ผู้ดูแล กิจกรรมที่ 4 การให้การช่วยเหลือเบื้องต้นในการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นแก่ผู้สูงอายุ กิจกรรมที่ 5 การเสริมสร้างพลังอำนาจ ระยะเวลาทดลองใช้ 5เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐานการวิจัยเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองใช้สถิติ Paired t-testผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองตัวแปรที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย ทักษะการดูแล (p-value=0.001), ความรู้ในการดูแล (p-value<0.001), ทัศนคติในการดูแล(p-value=0.050), การรับรู้ด้านสุขภาพ (p-value=0.004), ปัจจัยเอื้อ (p-value<0.001), ปัจจัยเสริม(p-value<0.001) ตามลำดับ ระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุภายหลังทดลองมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.050) ดังนั้น การพัฒนาทักษะผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอจะทำให้ผู้ดูแลเกิดความมั่นใจในการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุให้สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้

References

1. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. อาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรคผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

2. ชมพูนุช พรหมภักดี. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย(Aging society in Thailand). วารสารสำนักวิชาการสำนัก เลขาธิการวุฒิสภา. 2556; 3(16): 3.

3. สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล. การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการในชุมชน;2555.

4. ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. โครงการระบบการดูแลระยะยาวในครอบครัวสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2549.

5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. การคัดกรองประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ.ข้อมูลเดือนกันยายน 2559;2559.

6. ชิด บุญมาก และคณะ. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครแม่สอด. โรงพยาบาลแม่สอด;2559.

7. ขนิษฐา ก่อสัมพันธ์กุล, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. รวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 6 ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ประจำปี 2561“การดูแลทางจิตวิญญาณของผู้สูง
อายุ” ในวันที่ 4-5 เมษายน 2561. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล;2561.

8. Best, John W. Research is evaluation. (3rded). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.

9. Green, L. W. and Kreuter, M.W. Health promotion planning: and environmental approach. Toronto:Mayfied Publishing; 1991.

10. Roger, C. R. On becoming a person: A therapist’s view of psychotherapy. Boston: HoughtonMiffin; 1961.

11. Dewey, J. Moral principle of education. Boston : Houghton Mifflin Co; 1976.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-11-2019