การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ขยะติดเชื้อ, บุคลากรสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของกระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดสุโขทัย การศึกษาประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง 225 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ความรู้ ทัศนคติ แรงจูงใจและแรงสนับสนุนจากผู้บริหารในการจัดการขยะติดเชื้อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้วย 1) การศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง 2)พัฒนากระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย 2.1) กิจกรรมให้ความรู้ 2.2) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ 2.3) กิจกรรมการฝึกปฏิบัติการจัดการขยะติดเชื้อ 2.4) กิจกรรมการให้คำปรึกษาและแรงสนับสนุนจากผู้บริหาร ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลกระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข พบว่า คะแนนพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value <0.05 ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข ควรให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ การให้คำปรึกษาและสนับสนุนจากผู้บริหาร
References
2. กรมอนามัย. รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประเทศไทย ปี 2557 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึง เมื่อ 10 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก http://hia.anamai.moph.go.th
3. กรมควบคุมมลพิษ. แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559-2560) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม; [เข้าถึง เมื่อ 10 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก www.dla.go.th.
4. ผู้จัดการ. ปีเดียว“ขยะขยะติดเชื้อ” เพิ่มขึ้น 1,700 กว่าตัน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: [เข้าถึง เมื่อ 10 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/qol /detail/9600000128764.
5. สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม. คู่มือการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานขยะติดเชื้อหลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากขยะติดเชื้อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2557.
6. สุทธินันท์ ฉันท์ธนกุล. ขยะติดเชื้อ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: [เข้าถึง เมื่อ 10 พ.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.ayo. moph. go.th.
7. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.
8. ธีระวัฒน์ คำโฉม. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเพชรบูรณ์ [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.
9. กิตติ ผลทับทิม. สถานการณ์การจัดการขยะติดเชื้อในสถานีอนามัย อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงบุรี [การศึกษาอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย].มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.
10.ทีปกา ชัยสุนทร. การศึกษาการจัดการขยะติดเชื้อ กรณีศึกษาสถานพยาบาลเอกชน ประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนในเขตเทศบาลเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี [สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีอาคาร]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2556.
11.อุบล ชราศรี พิพัฒน์ ลักษมีจรัลกุล ดุสิต สุจิรารัตน์ และนารา กุลวรรณาวิจิตร. การรับรู้นโยบายและการปฏิบัติตามหลักการป้องกันการติดเชื้อมาตรฐานจากการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงพยาบาลประจำจังหวัดแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์(ฉบับพิเศษ). 2558; 3-17.
12.วิริยะภูมิ จันทร์สุภาเสน. ผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้และพฤติกรรมความปลอดภัยในการจัดการขยะขยะติดเชื้อในพนักงานทำความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2560; 18(1):113-112.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว