การพัฒนารูปแบบการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกในหน่วยงานภาครัฐในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กัลญา สุทธิธรรม 093-3235671
  • อัศวยุช ศาลารักษ์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การตรวจสุขภาพประจำปี, การพัฒนางานเชิงรุก

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกในหน่วยงานภาครัฐในอำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มพัฒนารูปแบบประกอบด้วย งานผู้ป่วยนอก กลุ่มการพยาบาล และงานเทคนิคการแพทย์ กลุ่มศึกษาคือ บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด 31 หน่วยงาน จำนวน 297 คน ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 ถึงเดือน กันยายน 2561 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR ตามแนวคิดของ เคมมิส และแมกทากาด1 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Act) ขั้นสังเกตการณ์ (Observe) และขั้นสะท้อนผล (Reflect) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือข้อมูลในระบบ HOSxP วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติจำนวน และร้อยละ

ผลการวิจัย พบว่าการใช้รูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายวิธี ได้แก่ การใช้แผ่นพับ การทำ One page การลงเวปโรงพยาบาล การประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และการออกประชาสัมพันธ์ในหน่วยงาน รวมถึงการจัดระบบบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาลแบบช่องทางด่วน (Fast Track)  ซึ่งการให้บริการตรวจสุขภาพก่อนการใช้รูปแบบ มีหน่วยงานที่มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปี เพียง 2 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 6.45 จำนวนทั้งหมด 63 คน คิดเป็นร้อยละ 21.43 แต่หลังจากการใช้รูปแบบการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก มีหน่วยงานที่มารับบริการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 8 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 25.81 จำนวนทั้งหมด 156 คน คิดเป็นร้อยละ 53.06 เพิ่มขึ้น 28.63 เปอร์เซ็นต์ ผลการรายงานการตรวจสุขภาพประจำปี พบว่า มีผู้รับบริการตรวจสุขภาพที่มีไขมันในหลอดเลือดสูง จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 14.96 ผู้รับบริการที่ตรวจพบน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่าปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 1.63 ผู้รับบริการที่มีตรวจพบการทำงานของตับผิดปกติ จำนวน 2 คน เช่นเดียวกับผู้รับบริการที่ตรวจพบปอดผิดปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.68 เท่ากัน จากการดำเนินงานทำให้ได้รูปแบบ และแนวปฏิบัติ การให้บริการที่เป็นระบบ เข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ลดระยะเวลารอคอย มีผู้มารับบริการ และมีรายได้จากการให้บริการตรวจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

 

 

References

เอกสารอ้างอิง
1. Kemmis, S; & Mc Taggart, R. The action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University press; 1990.
2. อรพิน กิจลิขิต, นภดล สุชาติ. ผลการตรวจ สุขภาพ บุคลากรโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ประจําปี 2552. พุทธชินราชเวชสาร. 2551; 25(1): 105-114
3. ถาวร สกุลพาณิชย์, สมชัย จิตสุชน, อรวรรณ ประสิทธิ์ศิริผล. รายงานฉบับสมบูรณ์การคลังสุขภาพสำหรับระบบบริการสุขภาพพึงประสงค์. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2556.
4. จุรีพร คงประเสริฐ, ธดารัตน์ อภิญญา. คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ.
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. (2558)
5. World Health Organization.(2012). New Data Highlight Increases in Hypertension, Diabetes Incidence.Retrieved July 2, 2015, Fromhttp://www.who.int
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2556). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคความดันโลหิตสูง. จาก http://thaincd.com/ information-statistic/non-communicabledisease-data.php.
7. กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. การดำเนินงานลดเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มวัยทำงานที่มีความคุ้มค่าหรือมีประสิทธิผลในชุมชน สถานบริการสุขภาพ สถานที่ทำงาน. กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2560.
8. ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อ ปฏิรูปการดูแลรักษาโรค เบาหวานใน ประเทศไทย. [เข้าถึง เมื่อ 1 ธ.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก:
https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf
9. รัชฎา จอปา, ลฎาภา อุตสม. โครงการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก. (อินเตอร์เนต). พิษณุโลก: ศูนย์อนามัยที่ 9: 2558. [เข้าถึงเมื่อ 26 ส.ค. 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://hpc2.anamai.moph.go.th/research/index.php/2549/26-2015-05-28-07-26-41?tmpl=component&print=1&page=
10. เนตรระวี เพ็ชรรัตน์, มลินี สมภพเจริญ, ประสิทธิ์ ลีระพันธิ์, ธราดล เก่งการพานิช. การตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาลเอกชน กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ. วารสารสุขศึกษา. 2555; 121:30-44.
11. มงคล การุณงามพรรณ, สุดารัตน์ สุวารี, นันทนา น้ำ ฝน. พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำ งานใน สถานประกอบการเขตเมืองใหญ่กรณีศึกษาพื้นที่เขตสาทร กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2555; 32: 51-66.
12. วรรณี เจตจำนง, ประยุทธ ไทยธานี. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 2554; 24:49-80.
13. พัชรพล อ่อนสุระทุม, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และ พิทยา ศรีเมือง. กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการทางการเคลื่อนไหวโดยชุมชน ตำบลธาตุทอง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ปี 2559. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560; (22)2: 120-126.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020