ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับกระบวนการกลุ่ม ต่อระดับความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 54 จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
Stress, Social support program, group processบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบทดสอบก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มเดียวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้เรื่องความเครียดและการจัดการความเครียด และระดับความเครียดของนักเรียนชั้นระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับกระบวนการกลุ่ม ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 46 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70 และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง 20 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วย Wilcoxon Matched-Pairs Signed-Rank Test
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.7 พักในหอพักด้านในโรงเรียน ร้อยละ 80.4 ได้รับเงินเฉลี่ยต่อสัปดาห์ 201-350 บาท ร้อยละ 39.1 การประเมินความรู้เกี่ยวกับความเครียดและระดับความเครียดก่อนได้รับโปรแกรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมนักเรียนมีคะแนนความรู้เพิ่มขึ้นจาก 12.93± 3.56 คะแนน เป็น 15.02 ±2.04 คะแนน คะแนนความเครียดลดลงจาก 51.17 ±13.32 คะแนน (ระดับสูง) เป็น 34.46±7.30 คะแนน (ระดับปานกลาง) โดยทั้งความรู้ และความเครียดแตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ดังนั้น จึงควรมีการใช้กระบวนการกลุ่มแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้พูดคุย แบ่งปันประสบการณ์เมื่อเกิดความเครียดให้กับคนในสภาวะเดียวกันและทำให้ระดับความเครียดลดลงได้
References
2. กรมสุขภาพจิต. สาเหตุ[อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 23 กันยายน 2562], เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/download/politic_crisis/techno/ความเครียด.pdf
3. คมกริช นันทะโรจพงศ์, ภูธิป มีถาวรกุล, ธีระวัฒน์ จันทึก. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการความเครียดของวัยรุ่นตอนกลาง. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2561; 24(1): 3-38.
3. กันตินันท์ ทองแดง และ ยินดี พรหมศิริไพบูลย์. ผลการใช้กระบวนการกลุ่มต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(2): 261-71.
4. เพียรดี เปี่ยมมงคล. การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: ธรรมสารจำกัด, 2553.
5. ชนิกานต์ ขำเหมือน, อานนท์ วรยิ่งยง และวิฑูรย์ โล่สุนทร. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม [วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.
6. ปรารถนา สวัสดิสุธา, ศิริไชย หงส์สงวนศรี. การจัดการวามเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2559; 61 (1): 41-52.
7. ศุภกร หวานกระโทก. ความเครียด วิธีการจัดการ และผลของการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต. ปีที่ 2 (ฉบับที่ 3). การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558:Diversity in Health and Well-Being. 2558.
8. Cassel, J. C. The contribution of the social environment to host re-sistance. American Journal of Epidemiology 1976; 104; 107-123.
9. Cobb, S. Social support as a moderator of life stress. Psycho- matic Medicine 1976; 38: 300-314.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว