ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ศศิธร นะราวัง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัฒน์ อาสนะ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, นักศึกษา, การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น จำนวน 198 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างวันที่ 12-16 กันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมานได้แก่การทดสอบไคสแคว์ (Chi-Square test)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.82 มีอายุเฉลี่ย 20ปี (S.D.= 2.73) มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 76.77 ศึกษาอยู่ในระดับชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 39.39 มีรายรับเฉลี่ยต่อเดือน 7,446.97 บาท (S.D.= 3,662.50) ค่าที่พักเฉลี่ยต่อเดือน 1753.28 บาท (S.D.= 1,292.76) ค่าโทรศัพท์เฉลี่ยต่อเดือน 242.86 บาท (S.D.= 229.47) ส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ตในวิทยาลัย ร้อยละ 97.98 อุปกรณ์ที่เข้าใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือโทรศัพท์มือถือ ร้อยละ 97.98 โน๊ตบุ๊ค ร้อยละ 85.35 เครื่องพีซี ตั้งโต๊ะ ร้อยละ 15.66 ใช้อินเตอร์เน็ตทุกวัน ร้อยละ 96.46 ระยะเวลาที่ใช้เฉลี่ยต่อครั้ง 3.11 ชั่วโมง (S.D. = 2.90) ช่วงเวลาที่เข้าใช้ คือก่อนเข้านอน ร้อยละ 94.95  และช่วงพักรับประทานอาหาร ร้อยละ 72.25 มีประสบการณ์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 6.89 ปี (S.D. = 2.61) กิจกรรมที่ใช้ คือเพื่อการสนทนาและการติดต่อสื่อสาร ร้อยละ 95.45 การรับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ร้อยละ 93.94 เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 92.42 และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใช้มากที่สุด คือ Facebook ร้อยละ 98.99 ไลน์ (Line) ร้อยละ 94.95 และยูทูป ร้อยละ 85.86 ในส่วนของพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.78 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ เพศ (p-value <0.001), อายุ (p-value <0.001), ชั้นปี (p-value = 0.001) และค่าที่พัก (p-value = 0.016)

References

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 2556; 32: 1-24.

ไทยรัฐออนไลน์. เทรนด์ใหม่วัยรุ่นทั่วโลก ฮิตออนโซเชียลฯ ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากเตียง[อินเตอร์เน็ต]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairath.co.th/content/339373

นุชรีรัตน์ ขวัญคำ. รูปแบบการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร: ศึกษาลักษณะทางประชากรที่มีความสัมพันธ์กับลักษณะการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตและพฤติกรรมการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อตอบสนองความต้องการ รวมถึงศึกษารูปแบบการใช้สื่อของกลุ่มวัยรุ่น . [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตรสารสนเทศ]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2550.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. 2557; 6: 63-78.

จันทร์จิรา ขุนวงศ์. การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา ระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารศึกษา]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

เกษดา จารุรัตน์. พฤติกรรมการใช้และทัศนคติของผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค (SOCIAL NETWORK) กรณีศึกษา กูเกิล พลัส (GOOGLE+).บทความวิชาการ[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2557. [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.spu.ac.th/commarts/files/2014/06/บทความวิชาการ1.pdf

จิราภรณ์ ศรีนาค. การวิเคราะห์ประเภทรูปแบบเนื้อหาและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารศึกษา]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

ภาณุวัฒน์ กองราช. การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษา Facebook. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารเทคโนโลยี]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วัยรุ่น : อินเทอร์เน็ต : เกมส์ออนไลน์[อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_internet_teen.jsp

อรุณ จิรวัฒน์กุล.ชีวสิถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

เอมิกา เหมมินทร์. พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถิติประยุกต์]. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; (2556).

อรุณรัตน์ ศรีชูศิลป์. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ . [การค้นคว้าอิสระศึกษาศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

อาทิชา เมืองยม. การสร้างสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้การสนทนา (Chat). [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2547.

ปณิชา นิติพรมงคล. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการประชาสัมพันธ์].กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2553.

ศศิวิมล ชูแก้ว. การศึกษารูปแบบและเนื้อหาการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด]. กรุงเทพ:มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย; 2555.

กมลณัฐ โตจินดา. การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ Social Network ของนักศึกษา. [วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์]. เชียงใหม่ :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

พิศมัย หาญมงคลพิพัฒน์. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา; 2558. หน้า1490-1500.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-11-2019