การประเมินผลความรู้ ทัศนคติ และทักษะของผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับอำเภอ ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความรู้, ทักษะ, ทัศนคติ, พนักงานเจ้าหน้าที่, ระดับอำเภอบทคัดย่อ
การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอให้ประสบผลสำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่มีการจัดประสบการณ์และกิจกรรมหลากหลาย เพื่อให้มีความรู้มากขึ้น มีทัศนคติที่ดี พร้อมมีทักษะในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับอำเภอของประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นใหม่ โดยการเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และทักษะของพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนและหลังอบรม วิธีการดำเนินการวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ประเมินผลค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ทัศนคติ ทักษะการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ก่อนการอบรมเปรียบเทียบกับหลังสิ้นสุดการอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ สาธารณสุขอำเภอจากจังหวัดขอนแก่น สกลนคร กาฬสินธุ์ เลย นครพนม บึงกาฬ หนองคาย หนองบัวลำภู เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามให้ผู้เข้าร่วมโครงการประเมินตนเองก่อนและหลังสิ้นสุดการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้ Paired Sample t-test ผลการศึกษาวิจัย: มีอาสาสมัครร่วมโครงการ 78 คนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.9 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.39) อายุต่ำสุด 37 ปี สูงสุด 59 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป เวลาปฏิบัติราชการเฉลี่ย 27.1 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10.7) ระดับชำนาญการพิเศษ ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งน้อยที่สุด 1 ปี นานที่สุด 39 ปี ผลการทดสอบพบว่า เมื่อสิ้นสุดการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ ทัศนคติ และทักษะมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าแอลฟา 0.05) สรุปผลการวิจัย: การอบรมหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพที่พัฒนาขึ้นใหม่ช่วยให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีความรู้ ทัศนคติและทักษะในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น มีทัศนคติที่เป็นบวกมากขึ้นต่อการปฏิบัติงาน แต่ยังไม่มีสมรรถนะที่พัฒนาได้ถึงระดับสูงสุด ดังนั้น จึงควรมีการพัฒนาหลักสูตรอบรมต่อยอดความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะทุกด้านอย่างต่อเนื่อง มีการเพิ่มแรงจูงใจ สร้างขวัญกำลังใจโดยให้รางวัล และสนับสนุนเงินค่าตอบแทนพิเศษแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้านนี้ รวมทั้งควรมีการสนับสนุนให้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
Anderson LW, Krathwohl DR. A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom’s taxonomy of educational objectives. New York: Addison Wesley Longman, 2001.
Auiwattanakul P. Practicing and attitude in health consumer protec¬tion of pharmacy technician [Master’s Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2009.
Bass BM. Leadership and performance beyond expectations, New York: The Free Press; 1985: 256.
Bloom BS, Engelhart MD; Furst EJ. Hill WH. Krathwohl DR. Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals. Handbook I: Cognitive domain. New York: David McKay Company.1956.
Booddawong B, Yoongthong W. Community empowerment in the management of the problems on inappropriate drugs and health products: Case study of Nonkhun district, Sisaket Province. TJPP. 2016; 8 (2): 331-343.
Hinsui J, Sriring P, Thanhai P. The training need for the health product consumer protection in the district. Sponsored by Sirindhorn College of public health, Khon Kaen province, 2017.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30(3): 607-610
Ministry of Public Health (Thailand). Health product consumer protection law, N.P., 2013.
Poonaovarat N. Factors associated with job performance of public health personnel in health consumer protection at sub-district health promotion hospitals in Northeast region. Master of pharmacy thesis in pharmacy management, Graduate school, Khon Kaen University; 2013.
Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development. Consumer protection training program for competent officials at district area. Sponsored by Food and Drug Administration. Bangkok, 2017.
Pundech A. A study of potential and training needs for the health product consumer protection in the district. Sponsored by Food and Drug Administration. Bangkok, 2016.
Rogers EM, Communication strategies for family planning, New York: Free Press; 1973: 49-50.
Sooksriwong C, Sermsinsiri V, Chanto S, et. al. Literature review and the situation of consumer protection in health system, Faculty of pharmacy, Mahidol University, Thailand; 2012.
Thailand food and drug administration. Handbook for for district competent officer to impiment the health product consumer protection. Bangkok: Rural and Local Consumer Health Product Protection and Promotion Division; 2015.
ThaiPBSnews. 5 years dead of slimming pill [Online]. [Cited 2018 May 26]. Availablefrom: https://news.thaipbs.or.th/content/271945
Theerakarn B. Effects of Transformational Leadership and Good Governance on District Health Office’s Effectiveness: A Case Study in Health Region 3. Journal of Health Systems Research 2016; 10 (1): 80-91
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว