ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ตำบลหนองไขว่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริมบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ตำบลหนองไขว่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือผู้สูงอายุจำนวณ 1,220 คน คำนวณขนาดตัวอย่างได้กลุ่มตัวอย่าง 300 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม นำไปทดลองใช้และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.704 วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แจกแจงข้อมูลด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลวิจัยพบว่า ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับต่ำ 42.33% (=1.87, S.D.=0.84) ด้านทัศนคติมีค่าเฉลี่ยในระดับสูง 90.67% (=2.91, S.D.=0.29) ปัจจัยเอื้อมีค่าเฉลี่ยในระดับสูง 94.33% (=2.94, S.D.=0.23) ปัจจัยเสริมมีค่าเฉลี่ยในระดับสูง 95.00% (=2.95, S.D.=0.21) พฤติกรรมการออกกำลังกายมีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง 63.67% (=2.14, S.D.=0.58) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ด้านความรู้และด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.143, p-value=0.013 และ r = 0.133, p-value=0.021 ตามลำดับ) ปัจจัยเอื้อไม่พบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (r = -0.041, p-value=0.477) และปัจจัยเสริมไม่พบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (r = -0.001, p-value=0.982) ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และกระตุ้นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง
References
สำนักนโยบายและแผน. สถิติสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.พ. 2562]; เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 23 ก.พ. 2562]; เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/main.php?filename=develop_issue
Green L, Kreuter M. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th Edition. New York: McGraw Hill; 2005.
Daniel WW. Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons; 1995.
Bloom BS. Mastery learning. UCLA – CSEIP Evaluation Comment. Los Angeles: University of California at Los Angeles; 1968.
Best JW. Research in education. (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall; 1977.
Good CV. Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book; 1973.
Dewey J. Moral Principle in Education. Boston: Houghton Mifflin Co; 1976.
สมบัติ กาวิลเครือ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 2560;7(3):161-173.
ธาริน สุขอนันต์, สุภาวัลย์ จาริยะศิลป์, ทัศนันท์ ทุมมานนท์, ปิยะรัตน์ จิตรภักดี. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2557;9(2):66-75.
Rosenberg RJ, Hovland CI. Attitude Organization and Change: And Analysis of Consistency Among Attitude Components. Wesport: Greenwood Press; 1960.
วราภรณ์ คำรส, ชนิดา มัททวางกูร, ชัยสิทธิ์ ทันศึก. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของกลุ่มตัวอย่าง ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2561;1(4):359-368.
อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ, ปิยวรรณ สืบวิเศษ, อรพรรณ กันนัง, กนกพรรณ ศรีสร้อย, รอฮายา หมาดตา, วิไลพรรณ บุญรอด, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ . 2561;21(42):55-64.
นวพร ศิริสม, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช, มณฑา เก่งการพานิช. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของข้าราการสำนักที่ปฏิบัติงานภายในเขตสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2557;30(1):34-44.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว