ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • กานต์ธีรา พรหมรักษา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยบริหาร, กระบวนการบริหาร, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกระบี่ กลุ่มประชากรคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 144รายคำนวณขนาดตัวอย่างได้จำนวน 116 รายใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านและวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามเท่ากับ 0.907 วิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยบริหารประกอบด้วยด้านกำลังคน ด้านงบประมาณและด้านวัสดุอุปกรณ์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (gif.latex?\bar{X} =2.72, S.D.=0.44) ด้านกระบวนการบริหารประกอบด้วยด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์กร ด้านการบังคับบัญชาสั่งการ ด้านการประสานงานและด้านการควบคุมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{X}=2.72, S.D.=0.44) ระดับการปฏิบัติงานการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{X}=2.72, S.D.=0.44) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดกระบี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.385, p-value=0.001, r=0.463, p-value<0.001) ตามลำดับ ดังนั้น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรให้การสนับสนุนปัจจัยการบริหารอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง รวมทั้งบุคลากรสาธารณสุขควรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์การควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของหน่วยงาน

References

World Health Organization.Hypertension fact sheet. Retrieved from http://www.searo.who.int. 2011.

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุงและคณะ.คู่มือการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.2556.

Weichrich Heinz, Koontz Harold. Manage A Global Perspective Mcgraw Hill. 1993.

Fayol, Henry. Industrial and General Administration. New Jersey: Clifton.1994.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9 thed). New York: John Wiley & Sons. 2010.

Best, John W. Research is Evaluation. (3 rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall. 1977.

วิเชียร วิทยอุดม.องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.2550.

ประจักร บัวผัน.การบริหารโครงการสุขภาพ.ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2550.

อุเทน จิณโรจน์ และวิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี.ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยในการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานระบาดวิทยาโรคติดต่อของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดมหาสารคาม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2557, 21(1), 63-74.

ศศิวิมล ปุจฉาการ.องค์ประกอบการบริหารที่มีอิทธิพลต่อความต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องของโครงการผู้นำนักเรียนฝ่ายส่งเสริมอนามัยในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.2534.

นุจนาถ ขวาไทย. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขด้านสุขาภิบาลอาหาร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2557.

Gulick, Luther, L. Urwick. Paper on the Science of Administration. New York: Columbia University. 1939.

ชายณรงค์ ไชยสัตย์และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ.ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2559; 3-4, 63-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-11-2019