คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของ บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปัตตานี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กรบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดปัตตานี กลุ่มประชากรคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขตจังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2561 จำนวน694 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 260 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 คุณภาพชีวิตในการทำงาน ส่วนที่ 3 ความผูกพันต่อองค์กร การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมด้านสถานภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพด้านการพัฒนาบุคลากรด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงานด้านความสัมพันธ์ในสังคมด้านลักษณะการบริหารงานด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวและด้านความภูมิใจในองค์กร ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (56.1%) ( =3.77, S.D.0.42)สำหรับด้านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้วย ด้านการยอมรับองค์กรด้านการใช้ความสามารถเพื่อองค์กรด้านความต้องการเป็นสมาชิกขององค์กรภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง(61.9%)(=3.81, S.D.0.36) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดปัตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.34, P-value<0.001) เมื่อพิจารณาคุณภาพชีวิตในการทำงานจำแนกรายด้านที่พบความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุข ประกอบด้วย ด้านสถานภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ (r=0.20, P-value0.001)ด้านการพัฒนาบุคลากร (r=0.43, P-value<0.001)ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน (r=0.22, P-value<0.001)ด้านความสัมพันธ์ในสังคม (r=0.16, P-value0.007)ด้านลักษณะการบริหารงาน (r=0.31, P-value<0.001)ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว (r=0.31, P-value<0.001)และด้านความภูมิใจในองค์กร (r=0.40, P-value<0.001) ตามลำดับ แต่ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมไม่พบความสัมพันธ์ (r=0.03, P-value0.613)
References
ชัท เมืองโคตร. ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.
ดาลัด จันทรเสนา. ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ในศูนย์สุขภาพชุมชน จังหวัดลำพูน. การศึกษาค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.
วรชาติ จำเริญพัฒน์. บทบาทของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตตรวจราชการ 12. มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.
สำนักงานปลัดกระกระทรวงสาธารณสุข. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการบุคลากรสาธารณสุขสำหรับบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2562 จากhttps://hr.moph.go.th/site/hr_moph/. 2561.
Walton, R.E. Improving the Quality of Work Life. Harvard Business Review; 1973: May-June.
Steers, R.M., Porter, L.W. Motivation and Work Behavior. 5th ed. New York: McGraw-Hill; 1977.
Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons; 2010.
Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.
Cronbach, L.J. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 1951; 16(3): 297-334.
เสาวลักษณ์ รำเพยพล. ความผูกพันต่อองค์กร โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารโรงพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.
สมพงษ์ โมราฤทธ์. คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2556; 10(1): 34-52.
Radja, J. Tawe, A., Rijal, S. & Tiro, M.a. Effect Quality of Work and Organizational Commitment toward Work Satisfaction in Increasing Public Service Performance (A Study of License of Founding Building Service in Makassar City). Public Policy and Administration Research. 2013; 3(12).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว