รูปแบบบริการผู้ป่วยนอกแบบผสานพลังลดอุบัติการณ์ผู้ป่วย Arrest ของหน่วยบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
บริการผู้ป่วยนอก, การช่วยฟื้นคืนชีพ, การผสานพลังบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกแบบผสานพลังลดอุบัติการณ์ ผู้ป่วย Arrest ของหน่วยบริการผู้ป่วยนอก โดยศึกษาในผู้มารับบริการที่หน่วยบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาล นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการผู้ป่วยนอกในการลดอุบัติการณ์ภาวะหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น (Arrest) ในหน่วยบริการผู้ป่วยนอก การดำเนินการโครงการวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยโดยการ วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ระบบการดูแลผู้ป่วยโดยใช้แนวคิดทฤษฎีเชิงระบบ (system theory) และโดย ใช้วงจรของเดมมิ่ง (Deming cycle) นี้ ให้สำคัญในการลดอัตราผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น กลุ่ม ตัวอย่าง ประกอบด้วย หัวหน้าแผนกให้บริการผู้ป่วยนอก และพยาบาลผู้ปฏิบัติงานการดูแลผู้ป่วยนอก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) กระบวนการประชุม ระดมสมอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) แบบประเมินแบบ ประเมินภาวะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบสถิติ Likelihood ratios (LRs) ผลการศึกษา 1) รูปแบบบริการผู้ป่วยนอกแบบผสานพลังลดอุบัติการณ์ผู้ป่วยหยุด หายใจและหัวใจหยุดเต้น ในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย การสังเกตผู้ป่วยตั้งแต่เริ่ม เข้าบริเวณหน่วยบริการ การจัดโซนผู้มีความเสี่ยง ความตื่นตัวในการให้บริการ ประสานพลังร่วมประเมิน และการยอมรับการมีส่วนร่วม ประสิทธิภาพของแบบประเมินภาวะหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น 2) จาก การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อประเมินความแม่นยำ หรือความน่าเชื่อถือ โดยพิจารณาจากค่า Likelihood ratio of positive ซึ่งมีค่า 11.59 เท่า แสดงว่าผู้ป่วยที่ถูกประเมินโดยแบบประเมิน พบว่ามีอาการอย่างหนึ่งอย่าง ได้ เพิ่มโอกาสในการเป็นผู้ป่วยภาวะวิกฤติ เป็น 11.59 เท่าเมื่อเทียบกับก่อน pre-test probability ขณะที่ likelihood ratio of negative test พบว่าผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ จะลดโอกาสที่จะเป็นผู้ป่วยวิกฤต เหลือ 0.52 เท่าเมื่อเทียบกับก่อนการประเมิน และเมื่อพิจารณาพื้นที่ใต้โค้ง อาร์ โอ ซี (Area under ROC curve; AUC) พบว่า แบบประเมินสามารถทำนายการเกิดภาวะวิกฤติของผู้ป่วยได้ถูกต้องร้อยละ 73.12
References
Organisation WH. World Health Organisation. [Online].; 2018 [cited 2018 July 10. Available from: https://www.who.int/cardiovascular_diseases/world-heart-day/en/.
Weaver SJ, Dy SM, Rosen MA. Team training in healthcare: A narrative synthesis of the literature. British Medical Journal of Quality and Safety 2014;23(5):359–372.
Knafelj R, Radsel P, Ploj T, Noc M. Primary per cutaneous coronary intervention and mild induced hypothermia in comatose survivors of ventricular fibrillation with STelevation acute myocardial infarction. Resuscitation 2007; 74:227–234.
Keskomon T. A Research and Development of The Evaluation System of Student Nurses' Learning Based on The Collaborative Evaluation Approach. Journal of Research Methodology 2003 July-September; 16:545-562.
Roh YS, Issenberg B, Chung HS, Kim SS, Lim TH. A survey of nurses' perceived competence and educational needs in performing resuscitation. Journal of Continuing Education in Nursing. 2013 May 1; 44(5): 230-236. https://doi.org/10.3928/00220124-
20130301-83
Miller R.T., Nazir N., McDonald T., Cannon C.M. The modified rapid emergency medicine score: A novel trauma triage tool to predict in hospital mortality. Injury 2017; 48(9):1870-1877.
Groarke, J. D., Gallagher, J., Stack, J., Aftab, A., Dwyer, C., McGovern, R., & Courtney, G. Use of an admission early warning score to predict patient morbidity and mortality and treatment success. Emergency Medicine Journal 2008; 25(12): 803–806.
https://doi.org/10.1136/emj.2007.051425)
Dey, K. P., & Hariharan, S. Integrated approach to healthcare Quality management: A case study. The TQM Magazine 2006: 18(6), 583-605.
จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ. การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลเพื่อความคุ้มค่าคุ้มทุน. พิมพ์ครั้งที่ 2.-- กรุงเทพฯ : สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์; 2551.
David Lyon, Gillian A Lancaster, Steve Taylor, Chris Dowrick, Hannah Chellaswamy; Predicting the likelihood of emergency admission to hospital of older people: development and validation of the Emergency Admission Risk Likelihood Index (EARLI). Family
Practice 2007; 24(2):158–167, https://doi.org/10.1093/fampra/cml069
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว