ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ส่วนบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครนครสวรรค์
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, การป้องกันภาวะแทรกซ้อนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล ระบบบริการสุขภาพของ สถานบริการสาธารณสุข การรับรู้ด้านสุขภาพ ปัจจัยสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มประชากรคือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 131 คน ที่ ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์โดยมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในพลาสมาจากหลอดเลือดดำหลังอดอาหาร มากกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรยืนยัน ชุมชนในความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ส่วนบริการสาธารณสุขและ สิ่งแวดล้อม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครนครสวรรค์ คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรการกรณี ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel จำนวน 113 ราย สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ระบบบริการสุขภาพของสถานบริการสาธารณสุข การรับรู้ด้าน สุขภาพ ปัจจัยสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ และพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทดสอบคุณภาพของแบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.962 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ประกอบด้วย สถานภาพสมรส , รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน, สิทธิ์ด้านการรักษาพยาบาล, ระบบบริการสุขภาพ, การรับรู้ด้านสุขภาพ, ปัจจัยสิ่งชัก นำให้เกิดการปฏิบัติ สำหรับอายุมีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.043) ปัจจัยที่สามารถ ทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย ปัจจัยสิ่งชักนำให้เกิดการ ปฏิบัติ, การเข้าถึงสถานบริการสุขภาพและการส่งต่อ, รายได้ครอบครัวเฉลี่ยต่อเดือน สามารถทำนายได้ร้อยละ 40.10 ผู้วิจัยจะนำตัวแปรจากผลการวิจัยมาใช้ในการออกแบบโปรแกรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ชุมชนในความรับผิดชอบของศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ส่วนบริการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักการ สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครนครสวรรค์ เพื่อพัฒนาเป็นโมเดลพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ติดตามเฝ้าระวังอาการผู้ป่วย มีการนัดผู้ป่วยมารับการตรวจอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมส่งเสริม พฤติกรรมสุขภาพกระตุ้นการรับรู้ด้านสุขภาพที่ถูกต้อง โดยการจัดกิจกรรม self-help group และพัฒนาทักษะการ สร้างการรับรู้ความสามารถและทักษะการจัดการตนเอง โดยการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ป่วย โรคเบาหวาน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (8 มีนาคม 2554). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554-2563. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2560 จากhttp://bps.ops.moph.go.th/THLSP2011-2020/index.html
ฉวีวรรณ ทองสาร. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการตนเองในการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. สารนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2550.
Gordon, N.F., Scott, C.B., Levine, B.D. Comparison of single versus multiple lifestyle interventions: Are the antihypertensive effects of exercise training and dietinduced weight loss additive?. The American Journal of Cardiology; 1997, 79(15): 763-767.
สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ. การพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรัง มโนมติสำคัญ. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2537.
Rosenstock. History origins of the health belief model: Health Education Monograph; 1974.
Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9thed). New York: John Wiley & Sons; 2010.
Best, John W. Research is Evaluation. (3rded). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.
Cronbach. Essentials of Psychological Testing. New york: Harper and Row; 1997.
เฉลิมพล ตันสกุล. พฤติกรรมศาสตรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหประชาพาณิชย์; 2543.
Orem, D.E. Nursing: Concepts of practice (4th ed.). St. Louis: Mosby Year Book; 1991.
Becker, Marshall H. The Health Belief Model and Preventive Behavior. Health Education Monographs; 1974.
Pender.NJ, Walker SN, Sechrist KR, Strombory MF. Predicting Health-Promotion Lifestyle In the Workplace. Nurs Res 1990 Nov – Dec; 1990, 39(6): 326-32.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว