ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงาน เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลากรสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • สมโภช ยอดดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขี้แรด อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ปัจจัยบริหาร, กระบวนการบริหาร, การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มี ความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา กลุ่มประชากรคือ บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานระบาดวิทยาใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ 2561 จำนวน 175 ราย โดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่ม ตัวอย่างที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 ราย ใช้วิธีการสุ่ม ตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คุณลักษณะ ส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 ปัจจัยบริหาร ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหาร ส่วนที่ 4 การปฏิบัติงานเฝ้าระวังทาง ระบาดวิทยา การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.975 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยบริหารประกอบด้วย กำลังคน งบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( =2.81, S.D.=0.39) กระบวนการบริหารประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การอำนวยการ การประสานงานและการรายงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( =2.92, S.D.=0.27) ระดับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประกอบด้วย การรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์และการแปรผลข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับสูง ( ==2.88, S.D.=0.33) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยบริหารและกระบวนการ บริหารมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของบุคลการสาธารณสุขใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =0.235, Pvalue= 0.007, r=0.245, P-value=0.005) ตามลำดับ

References

สุพรรณี ศรีอำพร. วิทยาการระบาด: ความรู้พื้นฐาน, ขอนแก่น: ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

กองระบาดวิทยา. สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2542.

เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์. แนวคิดองค์ประกอบและรูปแบบการเฝ้าระวังโรค. ในเอกสารการดำเนินงานวิทยาการระบาดในบริบทหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา, 2547.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. สรุปผลการดำเนินงานทางระบาดวิทยาของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาปี 2560, 2560.

มาวิน ทับแสง. การพัฒนาความรู้และคุณภาพของข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2548.

สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. หลักการบริหารสำหรับทันตแพทย์. ขอนแก่น: คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548.

Weihrich, Heinz and Koontz, Harold. Manage. A Global Perspective Mcgraw Hill.[n.p]., 1993.

Luther Gulick, Lyndall Urwick. Pepers On The Sciences of administration. NewYork: Insitute of Public administration, 1973.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons, 2010.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewood cliffs: N.J. Prentice Hall, 1977.

ประจักร บัวผัน. การบริหารโครงการสุขภาพ. ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.

ชายณรงค์ ไชยสัตย์, อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. ปัจจัยบริหารและกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 3-4: 63-70.

สมศักดิ์ บุญเนาว์. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับอำเภอในจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2557.

ศศิวิมล ปุจฉาการ. องค์ประกอบการบริหารที่มีอิทธิพลต่อความต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องของโครงการผู้นำนักเรียนฝ่ายส่งเสริมอนามัยในเขตภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2534.

ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารงานสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018