ประสิทธิผลการรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย โดยใช้ Shoulder Wheel ในผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด

ผู้แต่ง

  • ณัชกานต์ อินต๊ะรินทร์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
  • สาโรจน์ ประพรมมา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

ภาวะไหล่ติด, กายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด ด้วยโปรแกรม ทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกายโดยใช้ Shoulder Wheel ในกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติด ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม pain score 10 ระดับ และ Goniometer (เครื่องวัดองศาของข้อต่อ) เก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งหมด จำนวน 5 ครั้ง คือ ก่อนการได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัด 1 ครั้ง และหลังได้รับโปรแกรม กายภาพบำบัด จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ ในช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม พ.ศ.2560 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ด้วยสถิติ Repeated measure ANOVA ก่อนได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัดผู้ป่วยที่มีภาวะไหล่ติด มีค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดเท่ากับ 7.83 (95% CI: 7.51, 8.15) หลังได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัด 4 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.73 (95% CI: 0.41, 1.05), ส่วนการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ก่อนได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 130.30 (95% CI: 125.36, 135.24) หลังได้รับโปรแกรมกายภาพบำบัด 4 สัปดาห์ เท่ากับ 176.67 (95% CI: 171.73, 181.60) โดยทั้งอาการเจ็บปวดและการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ มีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การให้การรักษาทางกายภาพบำบัดร่วมกับการออกกำลังกาย ด้วย Shoulder wheel ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา สามารถลดอาการปวดและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดอาการปวดไหล่ในแนวทางของแผนปัจจุบัน และสามารถ นำไปประยุกต์ให้ผู้ป่วยใช้ที่บ้านได้

References

ชวนพิศ บุญเกิด. การแก้ไขปัญหาโรคข้อไหล่ติด[อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; มปป [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://allied.tu.ac.th/hcsc/wpcontent/uploads/sites/23/2016/09/Adhesive-capsulitis.pdf.

ณัฏฐพร มั่นไทรทอง และคณะ. การเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักขณะกางแขนในตำแหน่งการวางตัวของกระดูกสะบักที่แตกต่าง. สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย: กรุงเทพฯ; 2557.

ปราการ คลินิก. ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen shoulder) [อินเทอร์เน็ต]; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก http://www.prakarnclinic.com/index. php? ContentID=ContentID-16012017220054117.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “ข้อไหล่ติด”. รักษาหายได้ถ้าปฏิบัติอย่างถูกวิธี [อินเทอร์เน็ต]; 2560 [เข้าถึง เมื่อ 21 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก http://www.pr.chula.ac.th/index.php/15-article/131-2015-01-19-01-47-12.

ผศ.พญ.เสมอเดือน คามวัลย์. ไหล่ติด ทำอย่างไรจึงจะหาย [อินเทอร์เน็ต]; 2554 [เข้าถึง เมื่อ 4 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20101107063516AAVhiOC.

มนูญ บัญชรเทวกุล. เจ็บไหล่ ไหล่ติด ข้อไหล่ติดแข็ง [อินเทอร์เน็ต]; 2555 [เข้าถึง เมื่อ 4 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: https://www.doctor.or.th/article/detail/2351.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.อาการปวดไหล่(Shoulder pain) [อินเทอร์เน็ต]; 2559 [เข้าถึง เมื่อ 23 มกราคม 2560] เข้าถึงได้ จาก: http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000019/Shoulder%20pain.doc

โรงพยาบาลเวชธานี. ไหล่ติด [อินเทอร์เน็ต]; 2559 [เข้าถึง เมื่อ 4 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: https://www.vejthani.com/ webthailand/Shoulder-contact.php.

สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ.ข้อไหล่ติดข้อไหล่ยึด [อินเทอร์เน็ต]; 2559 [เข้าถึง เมื่อ 21 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseasestreatment/osteoarthritis-theshoulder-anchor.

ธีระพงษ์ พรรัตน์ และคณะ. ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และกระดูกจากการทำงานกับปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยส่วนจิตสังคมในชาวประมง. สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย : กรุงเทพฯ; 2556.

ธไนนิธย์ โชตนภูติ. ภาวะข้อไหล่ติด[อินเทอร์เน็ต]; 2559 [เข้าถึง เมื่อ 10 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/7/826/th.

ธีรวัฒน์ ตั้งอร่ามวงศ์. วิธีบริหาร ข้อไหล่ ลดอาการปวด [อินเทอร์เน็ต]; 2557 [เข้าถึง เมื่อ 26 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: http://health.mthai.com/howto/health-care/4051.html.

Firstphysio Clinic [Internet]. กรุงเทพฯ: ไหล่ติด (Frozen shoulder); 2014 [cited 2018 May 20]. Available from: http://www.firstphysioclinic.com/tag/ไหล่ติด/.

รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล และคณะ. ผลระยะสั้นของการออกกาลังกายแบบชักรอกต่อภาวะข้อไหล่ติดในผู้ป่วยเบาหวาน[อินเทอร์เน็ต]; 2554 [เข้าถึง เมื่อ 10 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipt.org/images/yootheme/Journal/Journal-File/2554/vol3-54.pdf.

สกุลรัตน์ อัศวโกสินชัย.การเปรียบเทียบผลการขยับข้อต่อร่วมกับการเคลื่อนไหวข้อต่อด้วยเทคนิคมูลลิแกน กับการรักษาแบบดั้งเดิมในผู้ป่วยปวดไหล่ที่จำกัดการเคลื่อนไหว [อินเทอร์เน็ต]; 2555 [เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2560] เข้าถึงได้จาก: https://www.tcithaijo.org/index.php/ppkjournal/article/viewFile/70759/57473.

ธัฏษิณา กำแพง และคณะ. การพัฒนารูปแบบการรักษาภาวะไหล่ติดแบบผสมผสานของโรงพยาบาลโนนสุวรรณ อ.โนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์. กายภาพบำบัดเขตนครชัยบุรินทร์: บุรีรัมย์; 2558.

กฤษฎา สมรัก. ผลการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังที่มีภาวะข้อต่อติดแข็งด้วยท่าทางการเคลื่อนไหวข้อต่อที่พัฒนาขึ้น โรงพยาบาลละหานทรายจังหวัดบุรีรัมย์.กายภาพบำบัด เขตนครชัยบุรินทร์: บุรีรัมย์; 2558.

เผยแพร่แล้ว

27-12-2018