การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการเสริมสร้างสมรรถนะ และการมีส่วนร่วมของชุมชน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จตุพร เลิศฤทธิ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การประเมินผล, กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันและ และควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการเสริมสร้างสมรรถนะและการสร้างมีส่วนร่วมของชุมชน ในอำเภอ เมือง จังหวัดชัยภูมิ ประชากรสำหรับการวิจัยด้านสมรรถนะและการมีส่วนร่วม ได้แก่ตัวแทนครัวเรือน ตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทนเครือข่ายโรงเรียน ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลซับสีทอง ตัวแทน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซับสีทอง ตัวแทน อสม. จำนวน104 คน ประชากรสำหรับการ ประเมินผลการดำเนินงานประกอบไปด้วย กลุ่มผู้บริหารโครงการ และกลุ่มประชาชน จำนวน 367 คน ระยะเวลาในการดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม 2560 – ธันวาคม 2560 เครื่องมือทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ เอกสารที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสนทนากลุ่ม แบบ สัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระต่อกันกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ ที่ แอลฟา P< 0.05 เครื่องมือในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพคือ กิจกรรมการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการระบาดของโรค ได้แก่ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ การประกอบอาชีพเกษตรกรรม กฎเกณฑ์ของชุมชน สภาพเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม ความรู้ ความ ตระหนัก การมีส่วนร่วม และการสื่อสาร ส่วนระดับสมรรถนะด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านพฤตินิสัยของ ผู้เข้าร่วมเสริมสร้างสมรรถนะ พบว่า หลังดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 80 ทุกด้าน และจากการนำกระบวนการ AIC มาใช้ ได้ข้อสรุปที่จะจัดทำโครงการในการแก้ไขปัญหา จำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย 1.) โครงการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2.) โครงการพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 3.) โครงการ คุยกันสารพันความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกผ่านหอกระจายข่าว 4.) โครงการธนาคาร ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และโครงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมชุมชน ด้านภาพรวมการประเมินผล ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น และด้านกระบวนการดำเนินงาน อยู่ใน ระดับมากที่สุด ด้านผลผลิต พบว่า ประชาชนมีการปฏิบัติและมีความรู้อยู่ในระดับสูง ค่าดัชนีลูกน้ำ ยุงลาย ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

References

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคติดเชื้อประเทศไทย 2544. กระทรวงสาธารณสุข; 2544.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. Annual Report Chaiyaphum Public Health Office รายงานประจำปี 2557. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. 2557.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ.Annual Report Chaiyaphum Public Health Office รายงานประจำปี 2558. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. 2558.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T.. Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press;1981.

สันติภาพ โพธิมา.การประเมินผลโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2551.

Stufflebeam, Daniel L..The CIPP MODEL for Program Evauation in Evaluation Model : Viewpoints on Evaluation and Human Service Evaluation. U.S.A. : Kluwer Academic Publishers;1986.

สำเนียง วงศ์วาน. ศึกษาเรื่องระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานสาธารณสุข] .ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2018