ความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ธนาคม เสนา ฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
  • อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, โรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มประชากรคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลศรีรัตนะ ปีงบประมาณ 2559 จำนวน 255 ราย กลุ่มตัวอย่างใช้สูตรการคำนวณที่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ของ Daniel จำนวน 175 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความ เชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถาม เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ ข้อมูลความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง เท่ากับ 2.52 (S.D.=0.79) ด้านทัศนคติมี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 2.48 (S.D.=0.50) และด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 2.30 (S.D.=0.46) ผลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ พบว่า ด้านความรู้มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ (r = 0.224, P-value=0.003) แต่ทัศนคติไม่พบ ความสัมพันธ์ทางสถิติ (r = -0.143, P-value=0.059) ดังนั้น แผนกทันตกรรมควรจัดกิจกรรมเพื่อสร้าง ทัศนคติที่ถูกต้องให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเน้นการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย โรคเบาหวานอย่างเพียงพอต่อเนื่องและการส่งเสริมให้มีการตรวจสุขภาพช่องปากสำหรับผู้ป่วย โรคเบาหวานที่มารับบริการ

References

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก ปี 2558. [ออนไลน์] 2559. เ ข้าถึงได้จาก : http://www.diabassocthai.org/. (สืบค้นวันที่ 30 มิถุนายน 2559). 2559.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (2559). สถิติข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี พ.ศ.2554-2558. [ออนไลน์] 2559. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaincd.com/.(สืบค้นวันที่ 30 มิถุนายน 2559). 2559.

Wild, S. et al. Global prevalence of diabetes: estimates for the year 2000 and projections for 2030. Diabetes Care. 2004, 27(5): 1047-1053.

วัชราภรณ์ เสนสอน, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, เสาวนันท์ บำเรอราช. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานกับการสูญเสียฟันในผู้ใหญ่ เขาอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 2553, 13(2): 132-146.

พัชราวรรณ ศรีศิลปะนันทน์. การศึกษาอัตราชุกชุมของโรคฟันผุในเด็กวัยก่อนเรียน(อายุ 2-6 ปี) ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่และความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพของเด็กกับพฤติกรรมทันตสุขภาพที่มารดามีต่อบุตร. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2550.

Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York: John Wiley & Sons; 2010.

Bloom, B.S. Taxonomt of Education. David McKay Company Inc., New York. 1975.

Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.

Green, L.W., Kreuter, M.W. Health Promotion Planning: An Educational and Environment Approach. California: Mayfield Publishing. 1991.

Ajzen, I., Fishbein, M. Understanding attitudes and predicting social behavior. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1980.

อรพิน รังษีสาคร, ศิริพร จันทร์ฉาย, ศาสตรี เสาวคนธ์, ถิรพงษ์ ถิรมนัส. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจรักษาที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2552.

จิรนันท์ อาษาพนม, วิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2556, 6(2): 162-171.

มัลลิกา สมพร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการปฏิบัติตนด้านทันตสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2551, 13(3): 81-93.

วัจน์กร ธรรมวณิชย์, ศุภโชค อมรศิริกุล, พลอยฉัตร อิงสกุลรุ่งเรือง, อภิญญา พูลหลวง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ กับสภาวะปริทันต์ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการทันตสาธารณสุข ครั้งที่ 2 ปี 2556 “มหกรรมตำบล ฟันดี”.
กรุงเทพมหานคร. 2556.

Thurstone, L.L. Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: John Wiley and Sons, Inc. 1970.

นิตยา นิยมการ, นิรัตน์ อิมามี. ความรู้ การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กของผู้ปกครองศูนย์เด็กเล็ก ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารสุขศึกษา. 2552, 34(229): กันยายน-ธันวาคม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2018