ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสภาพด้านการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสมรรถภาพสมอง บกพร่อง ในบ้านวังหิน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชัยมงคล ศรีล้อม สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • เบญญาภา กาลเขว้า ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • จันทนา กวีนัฏธยานนท์ ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ประทีป กาลเขว้า ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โปรแกรมฟื้นฟูสภาพด้านการรู้คิด, ผู้สูงอายุ, ภาวะเสี่ยงสมรรถภาพสมองบกพร่อง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนน ความสามารถในการรู้คิดของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสมรรถภาพสมองบกพร่อง บ้านวังหิน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ประชากรคือ ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงสมรรถภาพสมองบกพร่อง บ้านวังหิน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาและปรับปรุงจาก แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มาตรฐานความไว อยู่ระหว่างร้อยละ 35.4 - 92.0 และค่าความจำเพาะอยู่ระหว่าง ร้อยละ 81.1 - 92.6 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานใช้ การวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการรู้คิด โดยใช้สถิติการทดสอบของฟรีดแมน และ สถิติ การทดสอบของวิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีค่ามัธยฐานคะแนนความสามารถในการรู้คิดก่อนเข้าร่วม โปรแกรม 13 คะแนน (ต่ำสุด= 8, สูงสุด= 18) ค่ามัธยฐานคะแนนหลังเข้าร่วมโปรแกรม 25 คะแนน (ต่ำสุด=10, สูงสุด=30) และ ค่ามัธยฐานคะแนนระยะติดตามผล 25 คะแนน (ต่ำสุด=13, สูงสุด =26) ผลต่างของค่าคะแนนมัธยฐานพบว่า มีอย่างน้อย 1 คู่ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value <0.001) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างค่าคะแนนมัธยฐานรายคู่ก่อนกับหลังเข้าร่วมโปรแกรม และก่อนเข้าร่วม โปรแกรมกับระยะติดตามผล พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ส่วนผลต่าง ค่ามัธยฐานคะแนนหลังเข้าร่วมโปรแกรมกับระยะติดตามผลพบว่า แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.24) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งนี้คือ ควรเพิ่มระยะเวลาในการจัดโปรแกรมหรือควรมีการติดตาม และประเมินผลเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงควรเพิ่มระยะเวลาการติดตามผลให้มากขึ้น และควร พัฒนารูปแบบในการฟื้นฟูแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ได้กิจกรรมฟื้นฟูหรือการบำบัดรักษาได้อย่างถูกต้อง

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์; 2557.

อนัญชนินทร์ สุรอรรถากุล. การศึกษาเปรียบเทียบระดับซีลีเนียมในพลาสมาของผู้ป่วยโรคอลัไซเมอร์ และผู้ที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ คณะวิทยาศาตร์]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2557.

สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข สธ. เผยไทยมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ 6 แสนคน เร่งคัดกรองและจัดระบบดูแล [อินเทอร์เน็ต]. กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย. 2559].เข้าถึงได้จาก http://pr.moph.go.th/

Campbell, D. T., & Stanley, J. C. Experimental and quasi-experimental designs for research. Boston: Houghton Mifflin Company. 1966.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ.พิมพ์ครั้งที่ 4. ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

สาคร บุญสูงเนิน, ศินาท แขนอก.การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อม.วารสารศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา; 2554.

สุดารัตน์ ปุณโณฑก. ผลของโปรแกรมการระลึกถึงความหลังร่วมกับการบำบัดเพื่อการรับรู้วัน เวลา สถานที่ และบุคคลต่อความสามารถในการรู้คิดและความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

รัชดาภรณ์ หงส์ทอง.ผลของโปรแกรมการระลึกความหลังต่อการรู้คิดของผู้สูงอายุสมองเสื่อม.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2018