ความรู้ และการปฏิบัติตัวในการดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความรู้โรคเบาหวาน, การดูแลตนเอง, การปฏิบัติตัว, กลุ่มเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และการปฏิบัติใน การดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วย เบาหวานที่ไม่พึ่งอินซูลิน จำนวน 367 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คือเพศหญิง ร้อยละ 81.5 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 46.6 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 74.9 ระดับการศึกษาสูงสุดคือประถมศึกษา ร้อยละ 80.1 ประกอบ อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 65.1 ระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานต่ำกว่า 5 ปี ร้อยละ 47.9 มีระดับ น้ำตาลในเลือด 101-150 mg% ร้อยละ 65.1 มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 86.9 มีความรู้เรื่องโรคเบาหวานถูกต้อง ร้อยละ 100 คือ 1) อาการของโรคเบาหวานที่พบบ่อย คือ ปัสสาวะบ่อยและกระหายน้ำ 2) ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดตามัวหรือตาบอดได้ 3) หากมีแผลที่ เท้าและไม่รีบรักษาอาจถูกตัดขา จนเกิดความพิการได้ 4) การรักษาเบาหวานจะได้ผลดี เมื่อมีการ ควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย และ 5) ประโยชน์ของการมาตรวจตามแพทย์นัด คือได้รับการ ตรวจร่างกายอย่างต่อเนื่องและควบคุมภาวะแทรก ซ้อนของโรค กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตัวเป็น ประจำเพื่อดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในภาพรวม ร้อยละ 31.1 ข้อที่มีการปฏิบัติเป็นประจำมาก ที่สุด คือ 1) การนอนหลับพักผ่อนวันละ 6-8 ชั่วโมง ร้อยละ 97.0 2) การรักษาความสะอาดของร่างกาย ร้อยละ 96.9 และ 3) ไม่รับประทานเกินขนาด ร้อยละ 94.8 กิจกรรมที่ไม่ปฏิบัติมากที่สุดคือ 1) ถ้าลืม รับประทานยามื้อเช้า จะไม่รับประทานยามื้อเย็นรวม 2 เม็ด ร้อยละ 92.1 2) การสูบบุหรี่และดื่ม แอลกอฮอล์ ร้อยละ 89.9 และใส่รองเท้าหุ้มส้น ปลายเท้ามีลักษณะรูปป้าน มีเชือกผูก ร้อยละ 88.0 การควบคุมโรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายด้าน ความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัว เพื่อดูแลสุขภาพของตนเอง ในกลุ่มของผู้ป่วยเบาหวานมีความสำคัญมาก หากมีความรู้ถูกต้องและ ปฏิบัติตัวได้อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยส่งเสริมให้การควบคุมโรคเบาหวานมีประสิทธิผล มากยิ่งขึ้น
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558 [Internet]. 2559. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_strategy2559.pdf
Nitiyanant W, Chetthakul T, Sang-A-kad P, Therakiatkumjorn C, Kunsuikmengrai K, Yeo JP. A survey study on diabetes management and complication status in primary care setting in Thailand. Journal Medical Association of Thailand. 2007;90(1):65.
Tantisiriwat N, Janchai S. Common foot problems in diabetic foot clinic. Medical journal of the Medical Association of Thailand. 2008;91(7):1097.
สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2544.
มงคลชัย แก้วเอี่ยม. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลกลางนา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (สุขศึกษา)]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม; 2550.
ณิชชาภัทร ธนศิริรักษ์, วลัยนารี พรมลา. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในจังหวัดปทุมธานี. สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2559;2(2):352 – 363.
กฤษณา คำลอยฟ้า. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2011;17(1):17–30.
ภาณุมาศ ไกรสัย, วลัยนารี พรมลา. การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน.วารสารบัณฑิตศาส์น. 2561;15(2):101–110.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุข ประจำ ปี 2558. จังหวัดขอนแก่น; 2559.
เสาวนีย์ โคตรดก. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่มาบริการรับการรักษาในห้องอายุรกรรม แผนกผู้ป่วยนอก รพ.ภูมิพลอดุลยเดช [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.
สมจิตร ชัยยะสมทุร, วลัยนารี พรมลา. แนวทางการพัฒนาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศาส์น. 2561;15(2):111–23.
ศิริวรรณ อินทรวิเชียรคชา, พจนีย์ เสงี่ยมจิตต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2555;7(2):130–8.
กาญจนา บริสุทธิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์แพทย์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี.[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสุขศึกษา]: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว