การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ตำบลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • อุบล นววงศ์เสถียร โรงพยาบาลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ
  • นิตยา แก้วคำสอน โรงพยาบาลศรีวิไล อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ

คำสำคัญ:

การประเมินสมรรถภาพทางกาย, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, โปแกรมส่งเสริมความสุข 5 มิติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุและศึกษาผลของ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบประเมิน สมรรถภาพทางกายของกรมอนามัย แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย2002 แบบวัด คุณภาพชีวิต และแนวทางการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุติดสังคมมีปัญหาสุขภาพ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ มีอาการปวดข้อเข่า และมีผลการคัดกรอง2Q ผิดปกติ จำนวน 50 คน ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 ถึง เดือน กันยายน 2560 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการทดสอบ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาหลักสูตรด้วยโปรแกรมการส่งเสริมความสุข 5 มิติ ในโรงเรียน ผู้สูงอายุซึ่งประกอบด้วย มิติด้านสุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่างและสุขสงบซึ่งได้พัฒนามาจากกรอบ แนวคิดการส่งเสริมความสุข 5มิติสำหรับผู้สูงอายุ ของกรมสุขภาพจิตโปรแกรม 16 สัปดาห์นั้นสามารถ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพทางกายและใจดีขึ้น โดยพบว่าค่าคะแนนหลังผ่านโปรแกรมเพิ่มขึ้นทั้ง 5 มิติ ซึ่งมิติด้านสุขสบายมีคะแนนเพิ่มขึ้นมากที สุดส่งผลให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมให้อยู่ ในเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ70.58 โรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คิด เป็นร้อยละ 84.6 ผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่ามีอาการดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 83.3 ผู้ที่มีอารมณ์ซึมเศร้า ประเมินคะแนน 2Q ปกติ คิดเป็นร้อยละ100 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมตามแนวทางนี้จึง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยชะลอความรุนแรงของโรคส่งผลให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่มีโรคประจำตัว ยังคงความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ช่วยเหลือครอบครัวและสังคมได้ยาวนานขึ้น รวมถึงควรมีการสะท้อนผลการดำเนินงาน กระบวนการวิเคราะห์หลังปฏิบัติการ รวมถึงถอดบทเรียน การดำเนินครั้งนี้ เพื่อนำผลมาวิเคราะห์เพื่อนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องตลอดวงจร

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: เจเอสการพิมพ์; 2547.

กระทรวงสาธารณสุข. กระบวนการศึกษากับการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: กองสุขศึกษา; 2547

กระทรวงสาธารณสุข. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2549.

กรมสุขภาพจิต. คู่มือความสุข5มิติ(ฉบับปรับปรุงครั้งที่1) พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2545.

กรมอนามัย.แผนงานยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวงสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. นนทบุรี; 2552.

คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย พ.ศ. 2542 สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย: MMSE-Thai 2002. กรุงเทพ: กระทรวงสาธารณสุข; 2545

ปิยภรณ์ เลาหบุตร. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่7ตำพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์รัฐประสานศาสตร์มหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

นริศรา เปรมศรี สุทธิรักษ์ วิเศษสังข์ ประชาชาติ อ่อนคำ วัฒนพงษ์ คงสืบเสาะ และชยานนท์ อวิคุณประเสริฐ. การศึกษาสมรรถภาพทางกาย และสุขภาพจิตในกลุ่มผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้สูงอายุในเขตเมืองจังหวัดนครพนม.

สุดารัตน์ นามกระจ่าง ลักษณี สมรัตน์ และอนัญญา เดชะคำภู.ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความสุข 5 มิติในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในผู้สูงอายุตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ.การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ.2560. [เข้าถึง เมื่อ
15 ม.ค. 2561]. เข้าถึงได้จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/MMO11.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2018