คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพชรเจริญ ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • ณัฐวดี สุวรรณสิงห์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัฒน์ อาสนะ ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวาน, การสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลเพชรเจริญ ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 110คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2560 ด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 63.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 60.0 รายได้มีความไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ร้อยละ 73.6 มีคุณภาพชีวิตภาพรวม และรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และ ด้านสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนทางสังคมภาพรวม ด้านการได้รับการตอบสนองความต้องการด้าน อารมณ์ ด้านการได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่า และด้านการได้รับการช่วยเหลือด้านการเงิน สิ่งของ แรงงานและบริการ แต่การสนับสนุนทางสังคมด้านการได้รับการช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสาร อยู่ใน ระดับสูง ด้านการมีส่วนร่วมและการยอมรับในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อยู่ในระดับปานกลาง และ สูงตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน คือ ความเพียงพอ ของรายได้ (p = 0.001) เพศ (p = 0.016) และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน (p = 0.033) การสนับสนุนทางสังคมภาพรวม (p < 0.001) และรายด้าน คือ ด้านการมีส่วนร่วม และการยอมรับในฐานะเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม (p < 0.001) ด้านการได้รับการช่วยเหลือด้านการเงิน สิ่งของ แรงงานและบริการ (p< 0.001) ด้านการได้รับการช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสาร (p= 0.001) และด้านการได้รับการยอมรับและเห็น คุณค่า (p= 0.006)

References

เอกมาศ วงศ์ไพรินทร์. การประเมินคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวานที่นับถือศาสนาอิสลามในจังหวัดสตูล ประเทศไทย.[วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการระบาด]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555. [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2559 ]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph.go.th/files/report/20140109_40197220.pdf

นพพร ศุภพิพัฒน์และคณะ. รู้ทันเบาหวานเอาชนะโรคแทรกซ้อน. กรุงเทพฯ:บริษัท ก.พล จำกัด; 2549.

อำภาพร พัววิไล และคณะ. คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของสตรีที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยทางการพยาบาล. 2543;4(2): 218-238.

อุไรวรรณ ตวงสินธนากุล และมณฑา ทรัพย์พาณิชย์. การดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยเบาหวาน ใน รัชตะ รัชตนาวิน และธิดา นิงสานนท์ (บรรณาธิการ). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท จูนพับลิชชิ่ง จำกัด; 2545.

วรรณา สามารถ. คุณภาพชีวิตที่สูญเสียไปของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. [วิทยานิพันธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการระบาด]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล.; 2542..

สมคิด สีหสิทธิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันการเข้าถึงบริการสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับภาวะสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณ ฑิต ]. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

สุธาทิพย์ อุปลาบัติ. การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็วเม็ดเลือดขาว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยมหิดล.; 2551.

จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล. คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสมเด็กพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาสุขภาพจิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

กิ่งแก้ว ปาจารีย์. คุณภาพชีวิต. สารศิริราช. 2540; 49(1): 79-81.

อภิชาติ วชิญาณรัตน์. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิด NIDDM ในโรคต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิซึ่มสำหรับเวชปฎิบัติทั่วไป 2. กรุงเทพฯ : ยูนิตี้; 2537.

จิณณพัต ธีรอภิศักดิ์กุล. คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินในโรงพยาบาลสมเด็กพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต, สาขาวิชาสุขภาพจิต]. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

อัมพรพรรณ ธีรานุตร, เพลินตา ศิริปการและ อำพน นวลโคกสูง. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้าน. กรุงเทพฯ : คลังนานาวิทยา; 2544.

สมพิศ พรหมเดช. ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาภายหลังการผ่าตัด การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนไต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลแม่และเด็ก]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2537.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2558). จำนวนและอัตราผู้ป่วยในโรคไม่ติดต่อ ประจำปี พ.ศ. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2559]. เข้าถึงจาก http://thaincd.com/2016/mission3.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2558). อัตราตายต่อประชากรแสนคนด้วยโรค NCD จ.เลย ปี 2550-2558. [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม2559]. เข้าถึงจาก http://thaincd.com/2016/mission3.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสิถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของ WHO 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. โรงพยาบาลสวนปรุงจังหวัดเชียงใหม่: กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข; 2540.

ภัทรา จุลวรรณา. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2) ระยะที่ 1 การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2) ในบริบทจังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิ : มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ; 2554.

เสกสรร หีบแก้ว. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

สายโสม วิสุทธิยานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ จังหวัดสมุทรปราการ. [ปริญญาคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

ดวงเดือน จันทสุรียวิช. ภาวะแทรกซ้อนที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร]. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2552.

ศลาฆนันท์ หงส์สวัสดิ์. คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2551.

มลฤดี ชาตรีเวโรจน์. ปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา . [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2018