ประสิทธิผลของการทับหม้อเกลือด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยในหญิงหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • พนิดา มากนุษย์ โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
  • ปิยะนันต์ ฝาชัยภูมิ โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ
  • จตุพักตร์ เพชรจตุรภัทร โรงพยาบาลภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การทับหม้อเกลือ, การแพทย์แผนไทย, หญิงหลังคลอด

บทคัดย่อ

การให้บริการหญิงหลังคลอดด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย เป็นทางเลือกหนึ่งของกระทรวง สาธารณสุข การศึกษาถึงประสิทธิผลของหม้อทับเกลือ จะเป็นข้อมูลสนับสนุนและพัฒนางานแพทย์แผน ไทย งานวิจัยเชิงทดลองในหญิงหลังคลอด 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มได้รับบริการทับหม้อเกลือ สมุนไพร (กลุ่ม 1: gr1) กลุ่มได้รับบริการทับหม้อเกลือหลอก (กลุ่ม๒: gr2) และกลุ่มรับบริการแผน ปัจจุบัน (กลุ่ม๓: gr3) จำนวนกลุ่มละ 10 ราย คัดเข้ากลุ่มด้วยกระบวนการสุ่มตัวเลข ทำการทดลอง 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ Repeated anova พบว่า เมื่อสิ้นสุดการ ทดลอง ระดับมดลูกในกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean diff.(gr.1 1 vs gr.2) = -2.1; 95%CI: -2.65, -1.54, mean diff.(gr.1 vs gr.3) = -2.1; 95% CI: -.266, -1.54) รวมถึงขนาดรอบเอว (Mean time5 (gr1) = 77.8 cm., 84.6 cm.(gr.2), 80.7cm.(gr.3)) และระดับความเจ็บปวด (Mean time5 (gr1) = 4.1, 5.0 (gr.2) และ 6.0 (gr.3)) ตลอดจนน้ำคาวปลา ในกลุ่มทดลอง (gr1) เข้าสู่ภาวะปกติเร็วกว่าอีก 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Median survival time = 18 วัน (gr.1), 26 วัน (gr2) และ 25 วัน (gr.3)) การทับหม้อเกลือสมุนไพรในหญิงหลังคลอดมีประสิทธิผลในด้านการลดลงของระดับมดลูก ขนาดรอบเอว และระดับความเจ็บปวด รวมถึงช่วยให้น้ำคาวปลาเข้าสู่ภาวะปรกติเร็วขึ้น ควรส่งเสริมให้ หญิงหลังคลอดทุกรายที่มารับบริการที่โรงพยาบาล ได้รับบริการทับหม้อเกลือต่อเนื่องจากการรับบริการ แผนปัจจุบัน

References

กรมอนามัย. กองอนามัยการเจริญพันธุ์. คู่มือมารดาหลังคลอดและการดูแลทารก กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2559.3-4.

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คู่มือวิธีการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพมหานคร: กองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย; 2536.

เรณู ชูนิล, และคณะ. คู่มือการดูแลหลังคลอดและการดูแลทารก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2552. หน้า 3 – 4.

ศุภวดี แถวเพีย. สืบสานภูมิปัญญาไทย สู่การดูแล ตนเองหลังคลอด[Internet]. 2556 [เข้าถึงเมื่อ 14 มิ. ย . 2560 ].จาก : http://www.smnc.ac.th/group/research/images/stories/post.pdf.

วีระพงษ์ เกรียงสินยศ. อยู่ไฟหลังคลอด การจัดการความรู้การดูแลแม่และเด็ก ภูมิปัญญาพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสุขภาพไทย; 2552.

ทัศนีย์ คล้ายขำ, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, นันทนา ธนาโนวรรณ, วรรณา พาหุวัฒนกร. ผลของการนวดร่วมกับการประคบร้อนต่อความเจ็บปวดและการเผชิญกับความเจ็บปวดของ ผู้คลอดครรภ์แรก . Journal of Nursing Science. 2013; vol 31: 38 – 47.

จุฑามาศ แซ่ลิ่ม, กิตติ ตันไทย, สดใส ขันติวรพงศ์, จักรกริช อนันตศรัณย์. การใช้แพทย์แผนไทยร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันในการดูแลครรภ์ กรณีศึกษาหมู่บ้านท่าโต้ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการ 2556: 22–30.

อาภารัศมี ณะมณี. การสร้างเสริมสุขภาพของมารดาและเด็ก: มุมมองจากศาสตร์ของการแพทย์แผนไทยและศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบัน. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2556;13:79–88.

กุสุมา ศรียากูล. การดูแลสุขภาพหญิงหลังคลอดด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน: กรณีศึกษาชุมชนมอญ วัดหงษ์ปทุมาวาส จังหวัดปทุมธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2549: 425 –433.

ละเอียด แจ่มจันทร์, สุรี ขันธรักษ์วงศ์, สุนทร หงส์ทอง, นพนัฐ จำปาเทศ. การแพทย์แผนไทยกับการบริบาลมารดาหลังคลอดในชุมชนภาคกลาง. วารสารพยาบาลทหารบก2557; 15:195–202.

ลัดดาวรรณ แสนบุดดา. มารดาหลังคลอดสุขภาพดีด้วยแพทย์แผนไทย[อินเตอร์เน็ต]. ชัยภูมิ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ค.2560].จาก: http://cpho.moph.go.th/wp/p=20364

ขนิษฐา มีประดิษฐ์. ผลของตำรับยาสมุนไพรหลังคลอด ของโรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ [ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2554.

Rubngam C, Paengsroy K, Krairach T, Integration of Isan traditional knowledge in the holistic health treatment of postpartum mothers. Asian Culture and History 2014; 6: 227 – 234.

Thasanoh P. Northeast Thai Women’s Experiences in Following Traditional Postpatum Practices [dissertation]. San Fancisco: University of California; 2010.

Kansukcharearn A. Thai traditional midwives (Moh Tum Yae) in caring for mothers and infants, in Petchaburi province, Thailand: Case studies. International Journal of Social Science and Humanity2014; vol 4: 435 – 438.

สำรวย โยธาวิจิตร, สมชาย ชินวาณิชย์เจริญ, วิริยา เมษสุวรรณ, อัจฉรา จินวงษ์. การพัฒนาการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มารับบริการในสถานบริการสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
2556; 9: 21 – 32.

ชัญวลี ศรีสุโข. โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยต้นแบบ: ต้นแบบของการพัฒนาระบบบริการ. ในนิภา พรรณ สุขสิริ, บรรณาธิการ. ก้าวหน้า. กรุงเทพฯ: ร่วมมงคล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด; 2558.8:4,10–11.

เอื้อมพร สุวรรณไตรย์, ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย, สุรางค์ วิเศษมณี, ปราโมทย์ เสถียรรัตน์, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์, และคณะ. การศึกษาประสิทธิหม้อทับเกลือในการดูแลหญิงหลังคลอด. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก2557; 12:114 – 158.

อัจฉริยา พรหมสวัสดิ์. ประสิทธิผลของการทับหม้อเกลือในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ [อินเตอร์เน็ต]. สุราษฎร์ธานี: โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์; 2556. [เข้าถึงเมื่อ 12 เมษายน 2560]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bcnsurat.ac.th/images/doc/2558/research_herb.pdf.

rdo.psu.ac.th[อินเตอร์เน็ต]. สงขลา: ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก; Les4-p 107-144 [update 2011 May 4]. เข้าถึงได้จาก: http://rdo.psu.ac.th/ResearchStandards/animal/assets/document/ SampleSizes.pdf.

อุมาสวรรค์ ชูหา. ผลของการนวดมดลูกต่อการหดรัดตัวของมดลูก ในมารดาหลังคลอด. วารสารวิชาการโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2557; 11: 83 – 96.

ขจรศิลป์ ผ่องสวัสดิ์กุล. การคาดคะเนน้ำหนักทารกแรกเกิดโดยใช้ผลคูณระหว่างความสูงของมดลูกและเส้นรอบวงหน้าท้องมารดาที่ระดับสะดือเมื่อเจ็บครรภ์คลอด. พุทธชินราชเวชสาร. 2550; 24: 15-21.

วิชัย แตงน้อย. ความสัมพันธ์ระหว่างความสูงของยอดมดลูกและอายุครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ปกติที่โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2538; 19: 63–78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2018