การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์เขตอําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
การรับรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, หญิงมีครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์เขตอําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ประชากรคือ หญิงมีครรภ์รายใหม่ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการสาธารณสุขเขตอําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2558 จํานวน 547 คน ใช้สูตรการคํานวณกลุ่มตัวอย่างที่ทราบจํานวนประชากรที่แน่นอนของ Daniel (2010) ได้ขนาดตัวอย่าง จํานวน 250 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยชืสถิติ Pearson Product Moment Correlation Coefficient ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรค ภาพรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (=2.78, S.D.=0.412) สําหรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์ ประกอบด้วย การรับประทานอาหาร การฝากครรภ์ การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก การพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ตามนัด การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง(=2.93, S.D.=0.261) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า การรับรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์เขตอําเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r=0.158, P-value=0.036) เมื่อพิจารณาการรับรู้ด้านสุขภาพรายด้าน พบว่า การรับรู้ความรุนแรง (r=0.179, P-value=0.005) กับการรับรู้ประโยชน์ (r=0.140, P-value=0.026) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ส่วนการรับรู้ความโอกาสเสี่ยงและการรับรู้อุปสรรค ไม่พบความสัมพันธ์ทางสถิติ (r=-0.085, P-value=0.179, และ r =0.054, P-value=0.399) ตามลําดับ
References
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตากใบ. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ. รายงานผลการดำเนินงานสาธารณสุขประจำ ปี 2554-2556. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตากใบ.
Pender, N.J. Health Promotion in nursing practice. 2nd ed. Connecticus : Appleton & Lange; 1987.
Rosenstock, Irain M. “The Health Belife Model and Prevention Behavior.”Health Education Monographs; 1974.
Daniel W.W. Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences. (9th ed). New York:
John Wiley & Sons; 2010.
Best, John W. Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice Hall; 1977.
Becker, Marshall H. “The Health Belife Model and Prevention Behavior.” Health Education Monographs; 1974.
ดวงใจ พรหมพยัคฆ์, มณฑนา อัจฉริยศักดิ์ชัย, ศักดา เปรมไทยสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2555 26(2): 253-362.
ซาฟีน๊ะ ดอเลาะ. พฤติกรรมการดูแลครรภ์ตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ สถานีอนามัยในเขตพื้นที่อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร. 2552.
นาฎอนงค์ ธรรมสมบูรณ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2554.
อุทัยวรรณ เหมเวช. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการรับรู้ประโยชน์ของการรักษากับความร่วมมือในการรักษาของหญิงเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.
กัลยาณี บุญสิน, โสเพ็ญ ชูนวล. การรับรู้ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการปฏิบัติตัวในการป้องกันภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์แรกโรงพยาบาลสงขลานครินทร์.วารสารวิชาการ เขต 12. 2552; 12(2): 11-28.
แพรวพรรณ แสงทองรุ่งเจริญ, รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน (Journal of Health Science and Community Public Health) ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยการ สาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว