โปรแกรมการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ

ผู้แต่ง

  • jiranuwat chansungnoen

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, เครื่องช่วยหายใจ, ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 40 คน เป็นกลุ่มควบคุม 20 คน กลุ่มทดลอง 20 คน โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องของ ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และการใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การสร้างสัมพันธภาพ 2) การวางแผนในการปฏิบัติกิจกรรมการป้องกันการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ 3) การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และ 4) การประเมินผลการปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และแบบประเมินการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที (Independent t-test)

ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่ใช้เครื่องช่วยหายใจกลุ่มทดลองน้อยกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 1.042, p < .05)

References

ยุพาวรรณ อารีพงษ์. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบที่ได้รับการใส่เครื่อง High- flow nasal cannula. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2562; 4(2): 1-10

พนิดา กาวินำ, ทองปาน เงือกงา, ศรีสุดา อัศวพลังกูล. ผลการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารกองการพยาบาล 2560; 44: 34-57

Hadi D. K, Amir E. Z, Abolfazl F, et al. The Importance of Oral Hygiene in Prevention of Ventilator-Associated Pneumonia (VAP): A Literature Review. International Journal of Caring Sciences 2014; 7: 12–23

Thomas, M. F. Risk factors and prevention of hospital-acquired, ventilator-associated, and healthcare-associated pneumonia in adults. [Internet] 2014. [cited 2019 November 28] Available from: https://somepomed.org/articulos/contents/mobipreview.htm?23/23/23920/abstract/5

Bouadma L, Mourvillier B, Deiler, V, et al. A multifaceted program to prevent ventilator-associated pneumonia: Impact on compliance with preventive measures. Critical Care Medicine 2010; 38(3): 789-796

Center for Disease Control and Prevention. Pneumonia (Ventilator-associated [VAP] and non-ventilator-associated Pneumonia [PNEU]) Event. [Internet] 2020. [cited 2020 April 10] Available from: https://www.cdc.gov/nhsn/pdfs/pscmanual/6pscvapcurrent. Pdf

Bronchard R, Albaladejo P, Brezac G, et al. Early onset pneumonia: Risk factor and consequences in head trauma patients. Anesthesiology 2004; 100: 234-239

ศรัจจันทร์ ธนเจริญพัทธ์, อุษา วงษ์อนันต์, ศศิธร ศิริกุล, จีรัญญา กาญจนโบษย์, อุษา กลิ่นขจร. การพัฒนาโปรแกรมการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2558; 33(2): 83-91

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค. รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล. นนทบุรี : สถาบันบำราศนราดูร; 2552

จารุวรรณ รัตติโชติ. การปฏิบัติของพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลศูนย์. [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2550

National Guideline Clearinghouse. Prevention of Ventilator-associated Pneumonia. [Internet] 2011. [cited 2019 November 28] Available from: https://www.guide line.gov/content. aspx?id=36063&search=guideline+ventilator+associ

ยุวนิดา อารามรมย์. การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2558; 2(3): 144-158

NHSN. Ventilator Associated Pneumonia Putting it all Together. [Internet] 2008. [cited 2019 November 28] Available from: https://www.hanys.org/ihi_campaign/upload/080416_greene.pdf

Centers for Disease Control and Prevention. Ventilator-associated pneumonia (VAP) events. [Internet] 2009. [cited 2019 November 28] Available from: www.cdc. gov/nhsn

American Thoracic Society. Guidelines for the Management of Adults with Hospital-acquired, Ventilator-associated and Healthcare-associated Pneumonia. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine 2005; 171: 388-416

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้าฐ, ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง. ผลของการส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการปฏิบัติของพยาบาลและอุบัติการณ์ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร 2558; 42(พิเศษ): 95-104

นาตยา คำสว่าง, ปัญญา เถื่อนด้วง, กาญจนา อรรถาชิต, สาหร่าย บุญแสน. ผลการป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยการพัฒนา VAP Bundle Care. พุทธชินราชเวชสาร 2561; 35(1): 31-39

Burn N, Glove S.K. Nursing research. 5thed. U.S.A.: W.B. Saunders Company; 2005

Girvin J, Coaching improving job performance and satisfaction. Nursing Times 1999; 95(50): 55-57

เบญจวรรณ นครพัฒน์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก ในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและศัลยกรรมประสาท โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์. [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555

ประภาดา วัชรนาถ, อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจต่อการเกิดปอดอักเสบขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารเกื้อการุณย์ 2558; 22(1): 144-155

เอื้อใจ แจ่มศักดิ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555; 30(4): 79-87

ชนิดา ตี๋สงวน. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่อการเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกระทุ่มแบน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2556; 16(1): 67-77

สุกัญญา โพยนอก, อำภาพร นามวงศ์พรหม, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติที่ปรับปรุงจากหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558; 26: 94-106

วินิตย์ หลงละเลิง, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการดูแลช่องปากสำหรับผู้ป่วยที่ใส่ท่อทางเดินหายใจในภาวะวิกฤต. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558; 27(1): 98-113

อุบลรัตน์ วิสุทธินันท์, กฤตพัทธ์ ฝึกฝน. ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลางและรุนแรงต่อการเกิดแผลกดทับและภาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2559; 17(3): 33-41

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-13