การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในท่อไตที่มีภาวะแทรกซ้อนท่อไตทะลุ จากการรักษาด้วยวิธีการส่องกล้อง : กรณีศึกษา

Authors

  • จารุณี ตั้งใจรักการดี งานห้องผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหัวหิน

Abstract

การผ่าตัดนิ่วในท่อไตโดยวิธีส่องกล้อง (URSL) เป็นการผ่าตัดนิ่วในท่อไตโดยใช้กล้องส่องผ่านทางท่อปัสสาวะ เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจนถึงท่อไต เพื่อดูความผิดปกติ และสามารถเอานิ่วออกมาได้ โดยไม่มีบาดแผลผ่าตัด ซึ่งข้อบ่งชี้ในการทำURSL ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในท่อไตควรเป็นนิ่วที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน ถ้าเป็นนิ่วที่เกิดขึ้นนานแล้ว จะมีปฏิกิริยากับท่อไตมาก จนอาจสอดกล้องขึ้นไปไม่ได้ มีผลทำให้การทำลำบากมากขึ้น กรณีทำในผู้ป่วยที่มีนิ่วในท่อไตส่วนล่าง จะได้รับผลสำเร็จจากการผ่าตัดมากที่สุด ส่วนนิ่วในท่อไตส่วนกลาง และส่วนบน จะได้รับผลสาเร็จจากการผ่าตัดลดลงตามลำดับ ในผู้ป่วยกรณีศึกษาพบนิ่วในท่อไตส่วนต้นแพทย์วางแผนการรักษานิ่วในท่อไตด้วยการส่องกล้องทำ Left Uretero-Renoscope with Lithotripsy เมื่อส่องกล้องขบนิ่วเรียบร้อยแล้ว แพทย์ใส่ Guige wire ผ่านขึ้นไปยังไต เพื่อวางสายระบายปัสสาวะจากไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ แต่ไม่สามารถผ่าน Guide wire บริเวณท่อไตส่วนที่เหนือก้อนนิ่วไปได้ เนื่องจากมีการตีบตันของท่อไต ทำให้มีการทะลุของท่อไตบริเวณดังกล่าว จึงปรับแผนการรักษาเป็นการผ่าตัดนิ่วในท่อไตแบบเปิดทันที (Lt Ureterolithotomy) ในช่วงเวลาสำคัญดังกล่าวทีมผ่าตัดต้องจัดเตรียมเครื่องมือในการผ่าตัดอย่างครบถ้วนรวดเร็วใช้หลักปราศจากเชื้อพยาบาลส่งเครื่องมือและพยาบาลช่วยรอบนอก ร่วมกันตรวจนับเครื่องมือและวัสดุการแพทย์ก่อนการผ่าตัดและหลังผ่าตัดปฏิบัติการช่วยผ่าตัดอย่างถูกต้องรวดเร็วและปลอดภัยตามขั้นตอนการผ่าตัด และส่งเครื่องมือการผ่าตัดดำเนินไปอย่างเรียบร้อยแพทย์ทำการขยายท่อไตส่วนตีบแคบใส่สาย DJ stent และเย็บปิดท่อไต

References

พูนเกียรติ เรืองโอภา และสมพล เพิ่มพงศ์โกศล. (2555). กายวิภาคของการผ่าตัดผ่านกล้องศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ใน สมพล เพิ่มพงศ์โกศล (บรรณาธิการ). การผ่าตัดแบบมีความรุนแรงน้อยในศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ เล่มที่ 1. 135-158. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.

Atis, G., Gurbuz, C., Arikan, O., Kilic, M., Pelit, S., Canakci, C., . . . Caskurlu, T. (2013). Retrograde intrarenal surgery
for the treatment of renal stones in patients with a solitary kidney. Urology, 82(2), 290-294 doi:10.1016/j.urology.2013.04.013.

American Society of Nephrology (ASN). (2013, December 12). Diet, physical activity may affect risk of developing kidney stones. ScienceDaily. Retrieved August 20, 2018 from www.sciencedaily.com/releases/2013/12/131212183425.htm

Sorensen, M. D., Hsi, R. S., Chi, T., Shara, N., Wactawski-Wende, J., Kahn, A. J., Stoller, M. L. (2014). Dietary intake of
fiber, fruit and vegetables decreases the risk of incident kidney stones in women: A women’s health initiative report.The Journal of Urology, (1). doi: Retrieved August 20, 2018 from www.jurology.com/article/S0022-5347 (14) 036

Boonla, C., Tosukhowong, P., & Thummaborworn, T. (2006). Urolithiasis in Udon Thanihospital: A rising prevalence of uric acid
stone.Chulalongkorn Medical- journal Articles, 50(2), 77 - 90. doi:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3153

Buda, B., Nicola, T. A., Osan, V. G., Schiopu, A., Farr, A., Gliga, F., & Stoian, A. (2010).Oxalate renal stone disease: Pathogenesis, evaluation and prevention of recurrence. Acta Medica Marisiensis, 56(6), 509-511.

Kartha, G., Calle, J. C., Marchini, G. S., & Monga, M. (2013). Impact of stone disease:Chronic kidney disease and quality of life. Urologic Clinics of North America, 40(1), 135 -147. doi:https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S

Jabbar, F., Asif, M., Dutani, H., Hussain, A., Malik, A., Kamal, M. A., & Rasool, M. (2015).Assessment of the role of general, biochemical and family history Characteristics in kidney stone formation. Saudi Journal of Biological Sciences.doi: 10.1016/j.sjbs.2014.06.002

สมชาย เอี่ยมอ่อง, สมจิตร เอี่ยมอ่อง, เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์, ขจร ตีรณธนากุล, เกรียงตั้งสง่า และวิศิษฎ์ สิตปรีชา. (2554). Textbook of Nephrology. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น จำกัด

Downloads

Published

2019-02-28

How to Cite

ตั้งใจรักการดี จ. (2019). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดนิ่วในท่อไตที่มีภาวะแทรกซ้อนท่อไตทะลุ จากการรักษาด้วยวิธีการส่องกล้อง : กรณีศึกษา. Hua Hin Medical Journal, 3(1), 13–18. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/175178

Issue

Section

Case report