การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในผู้ป่วยข้อสะโพกหลุดซ้ำ: กรณีศึกษา

Authors

  • จารุณี ตั้งใจรักการดี งานห้องผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหัวหิน

Keywords:

ภาวะข้อสะโพกหลุด, Closed reduction, Open reduction, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

Abstract

ภาวะข้อสะโพกหลุดถือได้ว่าเป็นภาวะฉุกเฉินในทางออร์โธปิดิกส์ที่จำเป็นต้องรีบแก้ไขอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะไม่ให้เกิดผลเสียตามมา การรักษาประกอบด้วย การวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว ทา Closed reduction under anesthesia เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยไม่เจ็บและไม่เกร็งกล้ามเนื้อ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อ และผิวของข้อตะโพกได้ ในกรณีที่ไม่สามารถทา Closed reduction ควรพิจารณาทำ Open reduction ทันทีภาวะหลุดซ้ำของข้อสะโพก บางรายงานพบว่าเกิดจากการที่ immobilize ข้อสะโพกไม่เพียงพอ หลังจากการทำ Reduction ทำให้ Anterior capsule ที่ฉีกขาด ไม่แข็งแรง หรือเกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของข้อทำให้เกิดภาวะข้อสะโพกหลุดซ้าดังเช่นผู้ป่วยกรณีศึกษา จึงได้ทำการศึกษาความสำเร็จของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีสภาวะข้อสะโพกหลุดซ้ำ ไม่สามารถรักษาแก้ไขด้วยวิธี Closed reduction และ Open reduction ได้จำเป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเจ็บปวด แก้ไขความผิดปกติของข้อสะโพก ผู้ป่วยได้รับการประเมินอาการ ได้รับคำแนะนำในการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดให้การพยาบาลการผ่าตัดถูกคน ถูกข้าง ถูกตำแหน่ง การจัดท่าผ่าตัดอย่างปลอดภัย การเตรียมความพร้อมเครื่องมือผ่าตัด และเครื่องมือพิเศษ (Implant) รวมทั้งให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Sterile technique ป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัดหลังผ่าตัดให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด เน้นการจัดท่าผู้ป่วยเพื่อป้องกันข้อสะโพกเทียมหลุด การฟื้นฟูหลังผ่าตัด รวมถึงการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยสามารถกลับไปดำรงชีวิตตามปกติได้

References

Chong C.P., and orther. (2010). Medical problems in hip fracture patients. Arch orthop trauma surg, 130 (11) . 1355 –1361

Singh, S. and others. (2016). Complication of surgical management hip fracture. Original Research Article Orthopaedics
and Trauma. 30 (2) : 137 – 144

อัญญาณี สาสวน และธนิดา ผาติเสนะ. (2558). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอานาจที่มีต่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยหลังได้รับการ
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม.การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน”
ครั้งที่ 2.วิทยาลัยนครราชสีมา. นครราชสีมา. 18-19 มิถุนายน 2558. หน้า 110-119.

Yoon, R. S., and orther. (2010). Patient education before hip or knee arthroplasty lowers length of stay. The Journal of Arthroplasty. 25(4), 547-551. Francisco: Jossey-Boss.

Huang, S. W., and others. (2012). Effects of a preoperative simplified home Rehabilitation education program on length of stay of total knee arthroplasty patients. Orthopaedics & Traumatology: Surgery & Research. 98(3), 251-366.

Downloads

Published

2019-02-28

How to Cite

ตั้งใจรักการดี จ. (2019). การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในผู้ป่วยข้อสะโพกหลุดซ้ำ: กรณีศึกษา. Hua Hin Medical Journal, 3(1), 7–12. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/hhsk/article/view/175176

Issue

Section

Case report