ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก

Main Article Content

คัมภีร์ ตันภูมิประเทศ

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ได้ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2562  และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของ อสม. เพื่อนำผลไปใช้เป็นแนวทางส่งเสริมการปฏิบัติงานแก่ อสม. ในกลุ่มอื่น ๆ


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของ อสม. อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก  


วิธีการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงปริมาณระหว่างวันที่ 1 – 31 กรกฎาคม 2563 ใน อสม. อำเภอวังเจ้า จังหวัดตากที่เข้าร่วมโครงการอาสาสมัครสาธารณสุขคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงใน 6 หมู่บ้าน 3 ตำบล จากนั้นสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มีขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 40 ตัวอย่าง ใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และไคสแควร์ โดยกำหนดค่า p-value<0.05  


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง อสม. ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 41–50 ปี ระดับการศึกษา ป.4 และ ป.6 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว 5,001 – 10,000 บาท มีอาชีพเกษตรกรรม และเป็น อสม. แล้ว 5-9 ปี ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับปานกลาง ร้อยละ 87.50 โดย อสม. ร้อยละ 100 มีความรู้ด้านอาหารมากที่สุดในหัวข้อควรต้มหน่อไม้ปี๊บในน้ำเดือดก่อนบริโภค  นอกจากนั้นพบว่า ร้อยละ 65.00 ของ อสม. มีคะแนนทัศนคติการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพระดับปานกลาง โดยร้อยละ 62.50 เห็นด้วยมากที่สุดว่าการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพควรมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่วนด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนของ อสม. ร้อยละ 90.00 จัดอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความถี่ในการปฏิบัติงานเป็นประจำมากที่สุดคือ การดำเนินกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพซึ่งอยู่ในรูปทีมงานและเครือข่าย และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 


สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของ อสม. คือ ทัศนคติของ อสม. ที่แตกต่างกัน ส่วนคุณลักษณะด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ย อาชีพ และระยะเวลาการเป็น อสม. รวมถึงความรู้ไม่ใช่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

คัมภีร์ ตันภูมิประเทศ, กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก

 

 

References

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) [อินเทอร์เน็ต]. สุพรรณบุรี: สำนักงาน; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.govesite.com>uploads

ภาณุโชติ ทองยัง. หนังสือชุดคู่มือ อสม. คุ้มครองผู้บริโภค [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่งแม่กลองกรุ๊ป; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealthconsumer.org/images/mydata/freedoc/book/ Book_Lesson.pd

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.คู่มือปฏิบัติงานสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงาน; 2561.

สมจิต ฟุ้งทศธรรม. หน้าที่ความรับผิดชอบของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคใต้; 2551 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.consumersouth.org/paper/7

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติสำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนัก; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.moph.go.th/ new_bps/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. สาเหตุการป่วยตาย [อินเทอร์เน็ต]. ตาก: สำนักงาน; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://tak.hdc.moph.go.th/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก. ข้อมูลทั่วไป [อินเทอร์เน็ต]. ตาก: สำนักงาน; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://tak.hdc.moph.go.th/

ปริศนา วงศ์ผาคุณ. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการกลุ่มที่มีผลต่อพฤติกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [อินเทอร์เน็ต]. อำนาจเจริญ: โรงพยาบาลอำนาจเจริญ; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.amnathos.moph.go.th/file_news/amnathosMjm3M1904256495130.pdf

สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี:วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี; 2542 [เข้าถึงเมื่อ 30 ม.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.udru.ac.th/oldsite/attachments/elearning/01/07.pdf

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: blogger.com; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 1 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://pornpen-pen.blogspot.com/2010/11/blog-post.html

สุดารัตน์ หล่อเพชร. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานสุขภาพภาคประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. ยะลา: วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา; 2554 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/yru human/article/view/151502

ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: วารสารพยาบาลสาธารณสุข; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48185

คณิต หนูพลอย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต] [อินเทอร์เน็ต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ; 2553 [เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.tsu.ac.th/health_sci/main/files_sec /170520140909kanit.pdf