การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานใน เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

Authors

  • ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

Keywords:

ผลการปฏิบัติงาน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, เครือข่ายระบบบริการสุขภาพ, Performance, Village Health Volunteer, District Health Network

Abstract

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นผู้สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็น ด้วยคุณลักษณะเฉพาะคือการเชื่อมระหว่างชุมชนและบริการสุขภาพ อย่างไรก็ตามข้อมูลเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของ อสม. เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม มีจำกัด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานของ อสม. และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของโครงสร้างประชากรกับผลการปฏิบัติงานของ อสม. เครือข่ายระบบบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ปฏิบัติงานในเครือข่ายระบบบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 171 คน คำนวนโดยใช้สูตรของ Cochran (1977) ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แบบสอบถามที่ใช้ประยุกต์จากการศึกษาของโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และ ปารณัฐ  สุขสิทธิ์ (2550) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ผลการปฏิบัติงานของ อสม. และส่วนที่ 3 ความรู้พื้นฐานของ อสม. ตรวจสอบค่าเฉลี่ยความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ เท่ากับ 1 และหาความเที่ยงของเครื่องมือ ส่วนที่ 2 ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยง .84 ส่วนที่ 3 ใช้สูตร KR-20 ได้ค่าความเที่ยง .78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์ และ Cramer’s V

ผลการศึกษาพบว่าผลการปฏิบัติงานของ อสม. เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม ส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.5 ปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}= 22.34, SD = 4.21) รองลงมาร้อยละ 28.4 อยู่ในระดับดี (\inline \bar{X}= 32.47, SD = 2.87) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโครงสร้างประชากรกับผลการปฏิบัติงานของ อสม. พบว่า การมีตำแหน่งอื่นในชุมชน (X2 = 4.268, Cramer's V = .161) และความรู้ มีความสัมพันธ์ (X2 = 3.884, Cramer's V = .223) กับผลการปฏิบัติงานของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) ในระดับต่ำ จากผลการศึกษา ผู้บริหารบริการสุขภาพควรจะพัฒนาทักษะการประสานงานของ อสม. ให้สอดคล้องกับการมีตำแหน่งอื่นในชุมชนของ อสม. และสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ให้กับ อสม. อย่างต่อเนื่อง โดยออกแบบการอบรมที่มีเนื้อหา และวิธีการ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของ อสม. ในชุมชน 

 

PERFORMANCE ASSESSMENT OF VILLAGE HEALTH VOLUNTEER WORKING IN DISTRICT HEALTH NETWORK, POMPIRAM DISTRICT, PHITSANOLOK PROVINCE

Village health volunteer (VHV) had been recognized for attaining population coverage with essential health care. With their unique capability to provide bridges between the community and health care service. However, district health network, Pompiram district has a limited documentation about the performance of VHV. The purposes of this study are to 1) assess the performance of VHV and 2) study the association between demographic data and the performance of VHV in district health network, Pompiram district, Phitsanulok province.

A sample of 171 VHVs in district health network, Pompiram district, Phitsanulok province, which determined using the Cochran (WHO, 1977) were selected by simple random sampling. The questionnaire was developed from the study of Komart Jonesatherinsup and Paranut Suksit (2550) including 3 parts as follow: 1) Demographic data, 2) the performance of VHV and 3) the knowledge of VHV. The average item-content validity index (I-CVI) was 1. The overall value of Cronbach’s alpha coefficient part 2 was 0.84 and the value of KR-20 part 3 was 0.78. Data were analyzed to obtain frequency, mean, standard deviation, chi square and Cramer’s V values.

Findings showed that mostly 65.6% of VHV in district health network, Pompiram district had a fair level on their performance (\inline \bar{X} = 22.34, SD = 4.21) and 28.4% had a good level on their performance (\inline \bar{X} = 32.47, SD = 2.87). Furthermore, there was a significant relationship, at low level, between having the other societal positions in community (X2 = 4.268, Cramer's V = .161) and knowledge (X2 = 3.884, Cramer's V = .223), at the level of .05. Based on the result, health manager should be improved coordination skill consistent with having other societal positions in community and continuous supported activities to improve knowledge of village health volunteers. Moreover, the training should be designed in relation to VHV’s functions in community

Downloads

How to Cite

เตชาติวัฒน์ ภ., & กิจธีระวุฒิวงษ์ น. (2016). การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานใน เครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Public Health Nursing, 28(1), 16–28. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/phn/article/view/48185