ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ข้อมูลและความคิดเห็นของผู้บริโภคเครื่องสำอางออนไลน์ ต่อการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การรับรู้ข้อมูล, ความรู้, เครื่องสำอางออนไลน์, ทัศนคติ, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับความรู้ ทัศนคติที่มีต่อการโฆษณา
เครื่องสำอางออนไลน์ การรับรู้ข้อมูล รวมถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคเครื่องสำอางออนไลน์ต่อการดำเนินงาน
ของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 385 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ
ใช้วิธีสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2562 ผลการศึกษา พบว่า ผู้บริโภค
มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องสำอางและการโฆษณาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 50
มีความรู้ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเครื่องสำอางว่า “ทำให้ผิวหย่อนคล้อยกลับมาตึงกระชับได้” “การโฆษณาผ่าน
การอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว” และ “เลขที่ใบรับจดแจ้งเป็นสิ่งที่ยืนยันถึง
ประสิทธิภาพและความปลอดภัย” ในส่วนของทัศนคติและการรับรู้ข้อมูล พบว่า ผู้บริโภคมีทัศนคติในภาพรวม
ต่อการโฆษณาเครื่องสำอางออนไลน์ในระดับปานกลางที่ค่าเฉลี่ย 3.15 โดยผู้บริโภคมีทัศนคติที่ดีต่อการรีวิว
เครื่องสำอาง แต่ก็ยังคงมองว่าการโฆษณานั้นมักโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง และมีผู้บริโภคเพียงร้อยละ 42.3 ที่เคย
ได้รับความรู้หรือข้อมูลข่าวสารด้านเครื่องสำอางจาก อย. โดยได้รับความรู้หรือข้อมูลข่าวสารมากที่สุดทางโทรทัศน์
และช่องทางที่ผู้บริโภคคิดว่ามีผลต่อการรับรู้ข้อมูลมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ โทรทัศน์ Facebook page
(Fda Thai) และกิจกรรม/โครงการรณรงค์ต่างๆ ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้บริโภคมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน
ด้านข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเครื่องสำอางของ อย. ในภาพรวมอยู่ในระดับ “ดี” โดยส่วนที่ได้คะแนน
ในระดับปานกลางนั้นเกี่ยวกับความทันเหตุการณ์และรูปแบบการนำเสนอ ขณะที่ความคิดเห็นต่อการดำเนินงาน
ด้านการควบคุมเครื่องสำอางของ อย. ในภาพรวมอยู่ในระดับ “ปานกลาง” โดยข้อที่เกี่ยวกับความรวดเร็วในการ
ดำเนินคดีนั้นได้คะแนนน้อยที่สุด ดังนั้น จึงควรปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์รวมถึงมาตรการในการควบคุมหรือ
กำกับดูแลเครื่องสำอางให้รวดเร็วเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันต่อไป
References
2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-userprofile-2018.html
2. สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 27
กุมภาพันธ์ 2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internetuser-profile-2017-slide.html
3. กองแผนงานและวิชาการ. ผลการสำรวจพฤติกรรมและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นนทบุรี; 2563.
4. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 132 ตอนที่ 86 ก (ลงวันที่ 8 กันยายน 2558).
5. ศูนย์จัดการเรื่องร้องเรียนและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ.ผลการดำเนินการเรื่องร้องเรียนในปีงบประมาณ2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 9 กันยายน
2562]; เข้าถึงได้จาก http://www.fda.moph.go.th/sites/HPSC/SitePages/Result.aspx
6. สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพ. “ครีมเร่งขาว”ขาวไวจริงแต่เสี่ยงอันตรายกลายเป็นโรคที่รักษาไม่หาย [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม2561]. เข้าถึงได้จาก https://www.xn--q3c7aab.com/
7. ธิดารัตน์ พูลศิริ. สวยสยอง!!! ถ้าใครใช้อยู่แนะนำให้หยุด...ก่อนที่จะพังทั้งตัว อุทาหรณ์ครีมผิวขาว...เละมานักต่อนัก! ระวังจะต้องกลุ้มใจไปตลอดชีวิต!?!
[อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2561].เข้าถึงได้จาก http://www.tnews.co.th/contents/344625
8. สาวเตือนภัยคนอยากขาว! หลังใช้ครีมกระปุกละ 5,000 แตกลายยับทั้งตัว เหยื่อโผล่เพิ่มเพียบ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2561].เข้าถึงได้จาก https://www.khaosod.co.th/
monitornews/news_735255
9. Cochran W. Sampling Techniques. New York:John Willey and Sons; 1977.
10. Bloom BS. Learning for Mastery. Evaluationcomment. Center for the Study of InstructionProgram. University of California at LosAngeles; 1986.
11. Best JW. Research in Education. 4th ed.London: Prentice-Hall International; 1981.
12. ชิดชุดา จาดก้อน. ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อบทความเชิงโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในสื่ออินเทอร์เน็ต. [สารนิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต].กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2555.
13. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค. รายงานวิจัย เรื่องการประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต].2559. [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2562]. เข้าถึงได้
จาก https://db.oryor.com/databank/uploads/fda/0908028001501747784_file.pdf