การศึกษาปัจจัยและความพร้อมในการพัฒนาของผู้ผลิตยาแผนโบราณ : กรณีศึกษาผู้ผลิตยาแผนโบราณพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 11

ผู้แต่ง

  • กมลรัตน์ นุตยกุล กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการผลิตยาแผนโบราณ, มาตรฐานการพัฒนาการผลิตยาแผนโบราณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ความพร้อมและอุปสรรคของผู้ประกอบการผลิตยา แผนโบราณในพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 11 ต่อการเข้าสู่มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ทำการศึกษาโดยวิธีการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก ณ สถานที่ผลิตยาแผนโบราณ ที่ได้รับอนุญาตทั้งหมดในพื้นที่จำนวน 25 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนมกราคม – มิถุนายน 2560 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าจะต้องมีการพัฒนา สถานที่ผลิตยาแผนโบราณของตัวเองเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน คือ การมีมาตรการของภาครัฐมาบังคับใช้ จำนวน 16 ราย (ร้อยละ 64) รองลงมาคือ ความต้องการพัฒนาของผู้ประกอบการเอง 3 ราย (ร้อยละ 12) ความพร้อมในแต่ละด้าน ของผู้ประกอบการต่อการเข้าสู่มาตรฐาน พบว่าผู้ประกอบการมีความพร้อมด้านการขยายพื้นที่เพื่อการพัฒนาเข้าสู่มาตรฐาน จำนวน 9 ราย (ร้อยละ 36) สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยส่งเสริมความพร้อมเป็นลำดับแรก ได้แก่ การตลาด 9 ราย แหล่งเงินทุน 7 ราย และวิชาการและเทคโนโลยี 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 36 28 และ 8 ตามลำดับ สรุปได้ว่าผู้ประกอบการทุกรายทราบว่าต้องมีการพัฒนาสถานที่ผลิตเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน แต่สาเหตุหลัก ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคือ การขาดเงินลงทุนเพื่อปรับปรุงสถานที่ผลิต ความไม่มั่นใจเรื่องของตลาดที่จะ รองรับทำให้ไม่กล้าลงทุนเพื่อการพัฒนา รวมถึงการขาดที่ปรึกษาด้านวิชาการเรื่องของเกณฑ์มาตรฐานและงานเอกสารที่เกี่ยวกับการผลิต

References

1. กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น. แนวทางการพัฒนาแบบแปลนสถานที่ผลิตยาแผนโบราณ ตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2560].เข้าถึงได้จาก: http://www.fda.moph.
go.th/sites/drug/Post/Shared%20Documents/คู่มือแนวทางการพัฒนาแบบแปลนยาแผนโบราณ 2560.pdf

2. กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บจก.ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์;2559

3. กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133,
ตอนพิเศษ 206 ง (วันที่ 14 กันยายน 2559).

4. กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2557. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131,
ตอนพิเศษ 53 ง (วันที่ 25 มีนาคม 2557).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-10

How to Cite

1.
นุตยกุล ก. การศึกษาปัจจัยและความพร้อมในการพัฒนาของผู้ผลิตยาแผนโบราณ : กรณีศึกษาผู้ผลิตยาแผนโบราณพื้นที่เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 11. Thai Food and Drug J [อินเทอร์เน็ต]. 10 กันยายน 2020 [อ้างถึง 20 เมษายน 2025];27(3):26-33. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/fdajournal/article/view/244971